วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
สภาพนิเวศและการตั้งถิ่นฐาน
คําว่า “หนุมาน” เป็นทั้งชื่อลําน้ําหนุมานที่ชาวบ้านท้องถิ่น กบินทร์บุรีเรียกว่า “แควน้อย” คู่กับ “แควใหญ่” หรือ “แควพระปรง” และเมืองด่านชายแดนพระราชอาณาจักรสมัยโบราณบนเส้นทางเดินทางและเส้นทางเดินทัพที่นําไปสู่เมืองเขมรทางแถบศรีโสภณ เสียมเรียบ และพระตะบอง

เจ้าพ่อพระปรงที่ศาลเจ้าพ่อพระปรง ใกล้แควพระปรง ริมถนนสุวรรณศร บริเวณรอยต่อระหว่างอําเภอกบินทร์บุรีและ จังหวัดสระแก้ว
แควหนุมานมีต้นน้ําอยู่บริเวณป่าเขาแถบอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ไหลลงสู่ที่ราบผ่านแก่งหินเพิงบริเวณอําเภอนาดี จังหวัด ปราจีนบุรี แล้วมีห้วยโสมงท่ีมีต้นน้ําจากบริเวณอุทยานแห่งชาติทับลานไหลมาบรรจบกับแควหนุมานซึ่งเป็นลําน้ําที่ไหลมาจากทางด้านเหนือของเมืองกบินทร์บุรีบริเวณบ้านเมืองเก่า ก่อนจะไปสมทบกับแควพระปรงท่ีไหลมาจากทางตะวันออกเฉียงใต้
แควพระปรงเป็นลําน้ําใหญ่ที่รับน้ําสาขามาจากคลองพระสะทึง ทางด้านใต้ ซึ่งมีต้นน้ํามาจากแถบเขาฉกรรจ์และเขาสามสิบในเขต จังหวัดสระแก้วบรรจบกับแควพระปรงที่ “บ้านปากน้ํา” แควพระปรงมีต้นน้ํามาจากที่สูงจากแนวเทือกเขาพนมดงเร็ก ซึ่งเป็นแนวเขา ต่อเนื่องมาทางด้านตะวันออกของอุทยานแห่งชาติทับลานมาบรรจบ กับแควหนุมานที่ตัวเมืองกบินทร์บุรี
กลายเป็นจุดเริ่มต้นของแม่น้ําปราจีนบุรีหรือแม่น้ําบางปะกง
บริเวณลําน้ําหนุมานที่ชาวบ้านเรียกว่า แควน้อยสบกับลําน้ําพระปรงที่ชาวบ้านเรียกว่าแควใหญ่ กลายเป็นแม่น้ําปราจีนบุรีหรือแม่น้ําบางปะกง และ บริเวณลําน้ําหรือแควพระปรงบริเวณใกล้กับ ศาลเจ้าพ่อพระปรงดั้งเดิม
ลําน้ํานี้ผ่านที่ราบลุ่มของอําเภอประจันตคามและศรีมหาโพธิ มายังอําเภอเมืองปราจีนบุรี และอําเภอบ้านสร้าง จากนั้นมารวมกับ แม่น้ํานครนายกที่ “ปากน้ําโยธกา” กลายเป็นแม่น้ําบางปะกงแล้ว ไหลผ่านพื้นที่อําเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา บริเวณนี้มีลําน้ํา ท่าลาดที่มีต้นน้ําจากแควระบบและแควสียัดจากแถบบริเวณ
เขาอ่างฤาไนยมาสมทบเรียกว่า “ปากน้ําโจ้โล้” แล้วไหลผ่านอําเภอบางน้ําเปรี้ยว อําเภอบางคล้า อําเภอเมืองฉะเชิงเทรา อําเภอบ้านโพธิ์รวมระยะทางมากกว่า ๒๐๐ กิโลเมตร ก่อนไหลลงอ่าวไทยที่อําเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
บริเวณแควหนุมานและแควพระปรงตั้งอยู่บริเวณรัศมีโดยรอบของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และติดต่อกับผืนป่าทับลาน ซึ่งแต่เดิมเคยเป็นพื้นที่ป่าไม้เบญจพรรณและป่าเต็งรังแบบป่าดิบแล้ง เป็นแหล่งต้นน้ําลําธารถือเป็นเขตชุ่มน้ําและอุดมสมบูรณ์มาก แต่ปัจจุบันถูกบุกรุกจนกลายเป็นพื้นที่เกษตรกรรมทําไร่ นา สวน และรีสอร์ตสถานที่ท่องเท่ียวและตากอากาศจํานวนมากทําให้เกิดการชะล้างพังทลายของดิน จนเป็นสาเหตุให้ดินถล่มและเกิดอุทกภัยน้ําท่วมน้ำหลากอย่างน่ากลัวสําหรับชุมชนบนพื้นราบ โดยเฉพาะบริเวณชุมชนในอําเภอกบินทร์บุรีทั้งหมดในช่วงสองปีหลังนี้ที่มีน้ําท่วมใหญ่มากท่ีสุดเป็นประวัติการณ์
ป่าที่ไม่สามารถรักษาความชุ่มชื้นของพื้นดินและชะลอการไหลบ่าของน้ําในช่วงฤดูฝน ทําให้ปริมาณน้ําไม่สม่ําเสมอตลอดปีเพราะฤดูฝนน้ําจะไหลบ่าอย่างรวดเร็วชะล้างหน้าดินไปด้วยทําให้คุณภาพดินเลวลง พื้นที่ที่เหมาะสมสําหรับการเพาะปลูกมีน้อย และในฤดูแล้งพื้นที่ส่วนใหญ่จึงค่อนข้างแห้งแล้งและขาดแคลนน้ํา สภาพนิเวศของบริเวณกบินทร์บุรีและภาพรวมของจังหวัดปราจีนบุรีจึงอยู่ห้วงวิกฤตเพราะมีทั้งน้ําท่วมอย่างรุนแรง น้ําแห้งขอด และอากาศร้อนอบอ้าวจนแห้งแล้งไม่ต่ำกว่าสองถึงสามเดือนสลับกันอยู่เช่นนี้ ทั้งที่เคยเป็นบริเวณที่มีความหลากหลายของสภาพนิเวศสูง
คนกบินทร์บุรีจึงพยายามฟื้นฟูด้วยการปลูกป่ามีทั้งท่ีเป็นป่าชุมชนและป่าธรรมชาติท่ีฟื้นฟูขึ้นหลังจากมี การตัดป่าไม้ไปแล้ว ดังเช่นที่อยู่ในตําบลเขาไม้แก้ว ย่านรี วัง ตะเคียน บ้านนา และบ่อทอง เป็นต้น จึงมีทั้งไม้ยืนต้นและไม้ ล้มลุก เช่น ไม้เหียง ไม้สะแบง ไม้พลวง ไม้หม่ี ไม้ยางกุง มะขาม ป้อม ต้นพลับ สารพี ต้นตะขบ ต้นจะบก ต้นมอญ ต้นจําปา ฯลฯ และพวกพืชสมุนไพรจากป่าก็มีการฟื้นฟูปลูกกันในป่าชุมชนของหมู่บ้านต่างๆ
ความรุ่งเรืองของการค้าไม้ซุงจากป่าเขาในเขตที่สูงและภูเขา ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และทับลานในปัจจุบัน พบร่องรอยจากคําบอกเล่าของชาวบ้านแถบตลาดเก่าของกบินทร์บุรีที่อยู่ในบริเวณลําน้ําสองสายมาสบกันคือ แควพระปรงและแควหนุมาน ซึ่งจากแควหนุมานที่ลําน้ําไหลมาจากเทือกเขาสูงด้านบน ชาวบ้านก็จะผูกซุงล่องลงมาด้วย
ดังนั้นบริเวณลําน้ําด้านหน้าของตลาดเก่าและตลาดใหม่กบินทร์บุรีจึงกลายเป็นที่พักแพซุงของพ่อค้า ก่อนจะผูกให้สายน้ําในหน้าน้ําพัดพาไปขายกับโรงเลื่อยไม้แถบฉะเชิงเทราและบางปะกงอีกทอดหน่ึง
สภาพแวดล้อมบริเวณอําเภอกบินทร์บุรีประกอบด้วย พื้นที่ ภูเขาและที่ราบเชิงเขาซึ่งติดต่อกับแนวเขาใหญ่และเขตทับลานต่อ เนื่องมาจากเทือกพนมดงเร็กอันเป็นเขตที่สูงซึ่งอยู่ทางด้านเหนือของท้องถิ่นกบินทร์บุรี ภูเขาที่สูงเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของเขตอุทยานแห่งชาติจึงได้รับการอนุรักษ์พื้นที่เพื่อฟื้นฟูป่าไม้และสภาพแวดล้อมแตกต่างจากบริเวณอื่นๆ ส่วนกลุ่มเขาลูกโดดทางด้านใต้ ได้แก่ เขาลูกช้าง เขาไม้แก้ว เขาจาน เขาด้วน เขาปูน เขาจันทร์ เขาน้ําจั้น เขากําแพง เป็นต้น
เมื่อมีป่าไม้มากและอยู่ติดกับแนวเขาใหญ่ซึ่งมีเขตป่าดงดิบที่ใหญ่มากเช่นนี้ ในอดีตจึงพบว่ามีสัตว์ป่าในบริเวณป่าเขาและที่สูง ซึ่งหากินเรื่อยมาจนถึงชุมชนของชาวบ้านในบริเวณพื้นที่ราบก่อนช่วง พ.ศ. ๒๕๐๔ ป่าไม้และน้ําท่ายังมีสภาพอุดมสมบูรณ์และยังไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก สัตว์ที่เป็นอาหารจึงมีอยู่ในป่ามากมาย สัตว์ป่าจะอาศัยอยู่ตามป่าและเขาทั้งในตําบลวังตะเคียน วังท่าช้าง ย่านรี เขาไม้แก้ว บ้านนา ตลอดจนถึงตําบลนนทรี มีท้ังช้าง เสือ หมี ลิง ช้าง บ่าง ชะนี กระต่าย นก ชะมด วัว ป่า วัวแดง วัวกระทิง ควายป่า หมูป่า กระแต กระรอก ไก่ป่า เก้ง กวาง กระจง ชะมด เป็นต้น แต่จากการบุกรุกพื้นที่ป่าสัตว์ต่างๆ จึงถูกล่าจนสูญหายไปตั้งแต่ราว พ.ศ. ๒๕๑๐ เป็นต้นมา
ส่วนพื้นที่ราบมีอาณาบริเวณอยู่ในแนวตะวันตกและตะวันออก อยู่ในตําบลเมืองเก่า ตําบลบ้านนาและตําบลบ่อทอง นอกจากน้ันพื้นที่ราบอื่นๆ กระจัดกระจายอยู่ในตําบลต่างๆ สลับกับพื้นที่ลอนลูกคลื่น พื้นท่ีราบนี้ส่วนมากในอดีตใช้ทํานาแต่ปัจจุบันหลายแห่งทํานาไม่ได้ผลนัก เนื่องจากสภาพดินเสื่อมโทรมเนื่องจากมีการใช้ปุ๋ยเคมีจากปริมาณน้อยจนถึงใส่เป็นจํานวนมากเมื่อไม่ได้ผลผลิตตามที่ต้องการจนกลายเป็นดินปนทรายที่โดยธรรมชาติมีชั้นดินลูกรังตื้น ทําให้กักเก็บน้ําไม่อยู่ในฤดูแล้งและ น้ําท่วมขังในฤดูฝน
และเมื่อยังไม่มีระบบชลประทานที่มีประสิทธิภาพแต่อย่างใด ชาวบ้านจึงไม่สามารถปรับเปลี่ยนเนื้อดินคุณภาพต่ำเช่นนี้ให้กลายเป็นผืนนาท่ีมีความอุดมสมบูรณ์เช่นในอดีต จึงปรับเปลี่ยนการปลูกพืช ใช้เป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์ และปลูกสวนยูคาลิปตัสที่เริ่มเข้ามาแพร่หลายและนิยมกันในช่วงราว ๓๐ ปีที่ผ่านมา ชาวบ้าน บางรายก็ขายที่ดินเปล่ียนมือจนกลายเป็นแรงงานรับจ้างในท่ีสุด
ป่าไม้ที่เคยมีอยู่บ้างในบริเวณพื้นที่ราบและเนินในช่วงแรกๆ ช่วงก่อน พ.ศ. ๒๕๐๐ การบุกเบิกพื้นที่ทํากินการจับจองสิทธิเกิดข้ึนตามแต่กําลังตามแต่ผู้ใดสามารถทําได้และได้เอกสารเพื่อเสียภาษีค่า บํารุงท้องที่เท่านั้น ป่าไม้ท่ีเคยมีจึงกลายเป็นไม้ปลูกบ้าน และใช้ไม้ ไปเผาถ่านและทําไม้ฟืนหลา แต่ก็กล่าวกันว่ายังพอมีป่าไม้เหลือ
ภาษีค่าบํารุงท้องที่เท่านั้น ป่าไม้ท่ีเคยมีจึงกลายเป็นไม้ปลูกบ้านและใช้ไม้ ไปเผาถ่านและทําไม้ฟืนหลา แต่ก็กล่าวกันว่ายังพอมีป่าไม้เหลืออยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติคือ ป่าห้วยไคร้ ป่าประดู่ ป่าวังตะเคียน หลังจากการตัดไม้ในป่าอย่างกว้างขวางในช่วงนั้น พื้นที่จึงมีผู้เข้ามาจับจองและซื้อที่ดินของคนเก่าๆ เช่น อพยพมาจากจังหวัดชลบุรีและเริ่มปลูกมันสําปะหลังในที่ดอนตามแบบ รัฐบาลส่งเสริมให้ปลูกอย่างต่อเนื่องทั่วประเทศโดยเฉพาะในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือมา ตั้งแต่เมื่อราวหลัง พ.ศ. ๒๕๐๕ และพื้นที่ในบริเวณอําเภอ กบินทร์บุรีเริ่มปลูกมันสําปะหลัง กันมากในช่วงราว พ.ศ. ๒๕๑๑-๒๕๑๔
พื้นที่ซึ่งเป็นที่ลอนลูกคลื่น และมีเนื้อดินเหมาะแก่การปลูก พืชไร่ในบางส่วนของอําเภอ กบินทร์บุรีซึ่งเหมาะแก่การปลูกข้าวโพดแหลมทองหรือข้าวโพด ๘ แถว ซ่ึงนิยมปลูกกันมากในเขตจังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดสระแก้ว เพราะมีรสชาติหวาน น่ิม อร่อย เคี้ยวไม่ติดฟันและจะต้องมี ๘ แถวเท่านั้น ความอร่อยนี้ทําให้เป็นที่นิยมจนกลายเป็นพืชเศรษฐกิจและเป็นสินค้าโอทอปของพื้นที่และชาวบ้านนํามาขาย ริมทางหลวงอยู่ทั่วไป
สภาพภูมิประเทศที่สําคัญอีกประการหนึ่งในอําเภอกบินทร์บุรีคือ การมีพื้นที่ชุ่มน้ําที่เป็นหนองบึงอยู่ในบริเวณชายตลิ่งของแควพระปรง ห้วยโสมง และต่อเนื่องไปจนเมื่อสบเป็นแม่น้ําปราจีนบุรีแล้ว เช่น หนองพะงาย บึงน้ําใส บึงกรด บึงคะนาง หนองคล้า หนองบัว หนองตะกรุดอ้อมทางตะวันตก และหนองปลาแขยง หนองปลากระดี่ หนองปลาหมอ หนองขอน หนองครัว กุดปลาหวี กุดเลนกุดบอน กุดหนาว หนองพงทางตะวันออก การท่ียังไม่มีเขื่อนขนาดใหญ่ปิดกั้นทางเดินน้ําทําให้หนองบึงเหล่าน้ีกลายเป็นพื้นท่ีสําหรับปลาวางไข่ โดยเฉพาะการพัฒนาเป็นอ่างเก็บน้ําขนาดใหญ่ของกบินทร์บุรีคือ “อ่างเก็บน้ํา หนองปลาแขยง” สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐ มีนกเป็ดน้ําฝูงใหญ่อพยพมาทุกปี จนไปต้ังชื่อใหม่คือ “อุทยานกบินทร์เฉลิมราช” เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาและจัดทําเป็นสวนพักผ่อนถือเป็นบึงน้ําขนาดใหญ่ท่ีสุดในเขตที่ลุ่มต่ําซึ่งเป็นบริเวณลําน้ําสบกันของแควหนุมานและห้วยโสมง บริเวณกลุ่มชุมชนบ้านเมืองเก่าและชุมชนดั้งเดิมของกบินทร์บุรี
มีโครงการชลประทานห้วยไคร้และประตูระบายน้ําตะเคียนทอง ที่อําเภอกบินทร์บุรี ซึ่งดูแลพื้นที่การเกษตรในระบบชลประทานได้ ๑,๘๕๐ ไร่ จากพื้นที่ทั้งอําเภอจํานวน ๘๑๘,๓๐๐ ไร่ หรือคิดเป็นประมาณ ๐.๐๐๒ เปอร์เซ็นต์

แผนที่มาตราส่วน ๑ : ๒๕๐,๐๐๐ แสดงบริเวณเมืองกบินทร์บุรี ซึ่งเป็นที่สบของสายน้ําสําคัญคือ ด้านตะวันออก มีแควพระปรงและแควพระสะทึงมาสมทบเป็นลําห้วยพระปรง บริเวณด้านบนหรือทิศเหนือ มีห้วยโสมงมาสมทบกับลําแควหนุมานเป็นแควหนุมาน แล้วมาสบกับแควพระปรงที่บ้านปากน้ํา เมืองกบินทร์บุรี ถือเป็นต้นน้ําแม่น้ําปราจีนบุรีหรือแม่น้ําบางปะกง หลังจากนั้นจึงไหลผ่านศรีมหาโพธิ เมืองปราจีนบุรี บ้านสร้าง บางคล้า ฉะเชิงเทรา ก่อนออกทะเลที่ปากน้ําบางปะกง
การเป็นพื้นที่ชุ่มน้ําและเป็นที่รวมของลําน้ําหลายสายเช่นนี้ทําให้ตลาดกบินทร์บุรียังคงมีปลาตามธรรมชาติมาวางขายช่วงบ่ายๆ เป็นปลาที่ชาวบ้านจับตามห้วยหนองบึงไม่ใช่ปลาที่เลี้ยงในกระชัง ซึ่งมีอยู่ไม่มากนักในประเทศไทยที่จะสามารถนําปลาจากธรรมชาติมาบริโภคได้เช่นน้ี เน่ืองจากเป็นพื้นที่ซึ่งมีลําน้ําสายน้ําที่มีน้ําไหลจากที่สูงด้านเหนือคือแควหนุมานและห้วยโสมง สายน้ําเหล่านี้ไหลมาจากเขตเทือกเขาและยังไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมมากเท่ากับทางตะวันออก ทําให้บริเวณนี้ยังคงมีกระแสน้ําไหล
ชาวบ้านที่ใช้ชีวิตกับลําน้ําและหนองบึงคิดค้นวิธีปลูกผักน้ํา เฉพาะท้องถิ่นคือ “ผักกระเฉดชะลูดน้ํา” ซึ่งมีวิธีใช้การถ่วงน้ําหนักแพผักจนทําให้ผักทอดยอดและอุ้มน้ํา ยอดผักกระเฉดจึงชูยอดเรียว เล็กกรอบนุ่มและไม่เหนียวหากนํามาผัดไฟแดงจะอร่อยมากที่สุดจน กลายเป็นเอกลักษณ์เด่นของเมืองกบินทร์บุรี
“ผักกระเฉดชะลูดน้ํา” การนําความรู้ท้องถิ่นมาใช้ปลูกผักน้ําชนิดนี้ ทําให้กลายเป็นเอกลักษณ์เด่นของกบินทร์บุรี และภูมิทัศน์แบบบึงน้ําในช่วงหน้าฝนยังคงมีให้เห็นอยู่ทั่วไป ต่างจาก ภาพทิวทัศน์ที่เป็นทุ่งนา
สําหรับสภาพอากาศบริเวณจังหวัดปราจีนบุรีซึ่งเป็นบริเวณพื้นที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ รวมกับลมฝ่ายใต้ที่พัดปกคลุมภาคตะวันออกและหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุม จึงทําให้บริเวณจังหวัดปราจีนบุรีมีปริมาณฝนมากแต่อากาศร้อนจัดในฤดูร้อน
ข้อมูลในช่วง พ.ศ. ๒๕๔๒-๒๕๔๖ อุณหภูมิสูงประมาณ ๓๙.๒๐ องศาเซลเซียส และอากาศค่อนข้างเย็นในฤดูหนาว อุณหภูมิต่ำสุดจะอยู่ในช่วง ๑๖-๒๕ องศาเซลเซียส ในปีหนึ่งๆ มีฝนตกโดยเฉลี่ยราว ๑๒๓ วัน ปริมาณน้ําฝนเฉลี่ยวัดได้ ๑,๘๓๗.๗ มิลลิลิตร (ข้อมูลจากสํานักงาน สาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี)
การตั้งถิ่นฐานสมัยโบราณ
นักวิชาการทางโบราณคดีและมานุษยวิทยา อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม บรรยายสภาพแวดล้อมของการตั้งถิ่นฐานสมัยโบราณในบริเวณภาคตะวันออกของสามเหลี่ยมปากแม่น้ำภูมิภาคตอนกลางของประเทศไทย (ศรีศักร วัลลิโภดม, “จันทบุรี–ปราจีน กับการเป็นแหล่งอารยธรรมภาคตะวันออก”) โดยกล่าวว่า
การตั้งถิ่นฐานในเแถบภูมิภาคตะวันออกนั้นมีตั้งแต่ชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งอยู่อยู่โดดเดี่ยวจนมีรูปแบบทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งมีอยู่ไม่มากแห่งนักและชุมชนที่เคลื่อนย้ายเข้ามาเพื่อตั้งถิ่นฐานในบริเวณพื้นที่สูงต่อกับที่ราบลุ่มในสมัยทวารวดีและเขมรที่ต่อเนื่องจนถึงสมัยอยุธยาและกรุงเทพฯ และเป็นเส้นทางเดินทางมาแต่โบราณของภูมิภาคที่นำเข้าสู่ที่ราบสูงในเขตอีสานตอนใต้และบ้านเมืองสำคัญในภาคกลางทั้งทางอยุธยาและกรุงเทพฯ
ในบริเวณภาคกลางฝั่งตะวันออกมีพัฒนาการของบ้านเมืองที่มีถิ่นฐานกระจัดกระจายตามลุ่มน้ำที่มีลักษณะเป็นชายขอบที่สูงต่อกับพื้นที่ราบลุ่ม บางแห่งมีสภาพเป็นเนินดินธรรมชาติที่คล้ายเกาะขนาดใหญ่อย่างชัดเจน ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่เรียกสภาพแวดล้อมนั้นว่า “โคก” เช่น การตั้งถิ่นฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์แถบบริเวณ “โคกพนมดี” ในอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ที่มีอายุราว ๓,๕๐๐ ปีมาแล้ว มีการขุดค้นพบประเพณีการฝังศพที่รวมกันอยู่ในบริเวณเดียวกันหลายยุคหลายสมัย ลักษณะการฝังศพและรูปแบบเครื่องปั้นดินเผาที่มีความคล้ายคลึงกันเกือบทุกยุคทุกสมัยนั้นแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมอย่างช้าๆ อันเนื่องมาจากการอยู่โดดเดี่ยวมาเป็นเวลานาน
นอกจากนี้ก็มี “เมืองพระรถ” ตั้งอยู่ในอำเภอเดียวกัน ซึ่งเป็นศูนย์กลางของบ้านเมืองแถบนี้เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ และอยู่อาศัยอย่างสืบเนื่องตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงยุคที่มีการรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากดินแดนภายนอก พบเมืองบริวารที่อยู่ใกล้เคียงกันหลายแห่ง เช่น “เมืองพญาเร่” ในเส้นทางที่ติดต่อไปยังทางจังหวัดระยองได้ และ “เมืองศรีพะโล” ที่อยู่ใกล้กับทะเลไม่ห่างจากปากน้ำพานทองและแม่น้ำบางปะกงเท่าใดนัก

ภาพถ่ายทางอากาศ เมืองโบราณศรีมโหสถ อําเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี เป็นเมืองภายในมีการตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒ ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมแบบทวารวดีจากภาคกลาง วัฒนธรรมเนื่องในศาสนาฮินดู และวัฒนธรรมแบบเขมรเมืองพระนคร โดยเฉพาะในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘
ส่วนการตั้งถิ่นฐานบ้านเมืองในลุ่มน้ำบางปะกงที่อยู่เหนือเขตอำเภอพนัสนิคมขึ้นมาก็คือ บริเวณอำเภอพนมสารคาม อันเป็นบริเวณที่มีชายที่สูงติดต่อกัน โดยเฉพาะบริเวณในเขตตำบลเกาะขนุนที่ต่อเนื่องเข้าไปถึงทางอำเภอสนามชัยเขต มีลำน้ำท่าลาดไหลมาจากที่สูงและเทือกเขาทางตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านลงสู่ที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงในเขตตำบลเมืองเก่า อำเภอพนมสารคาม ผ่านไปออกแม่น้ำบางปะกงในเขตอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
พบร่องรอยของชุมชนโบราณที่มีคูน้ำล้อมรอบที่เรียกว่า “บ้านคูเมือง” รวมทั้งคันดินที่เป็นแนวยาวคล้ายถนนซึ่งน่าจะเป็นทำนบในการจัดการน้ำของชุมชนเก่าแก่หลายแห่ง และพบพระพุทธรูปศิลาแบบทวารวดี เทวรูปแบบวัฒนธรรมเขมร เครื่องปั้นดินเผาแบบทวารวดี แบบวัฒนธรรมเขมร จนถึงสมัยอยุธยาและกรุงเทพฯ ช่วงต้น แสดงให้เห็นว่าเป็นชุมชนที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายของผู้คนจากที่อื่นเข้ามาตั้งหลักแหล่งประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ ลงมาเป็นอย่างมาก ซึ่งน่าจะสัมพันธ์กับเมืองพระรถที่อำเภอพนัสนิคมและมีเส้นทางขึ้นไปทางเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับชุมชนโบราณในเขตอำเภอโคกปีบ อำเภอสนามชัยเขตและอำเภอกบินทร์บุรีอีกด้วย
ภาพซ้ายบน เทวรูปน่าจะเป็นพระนารายณ์สวมหมวกแขก เนื่องในศาสนาฮินดู อายุน่าจะร่วมสมัยกับวัฒนธรรมทวารวดีราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ ภาพขวาบน พระพุทธรูป แกะบนแผ่นหินแบบนูนสูง ปางสมาธิแบบศิลปะทวารวดี พบที่เมืองศรีมโหสถ อําเภอศรีมหาโพธิ ภาพซ้ายล่าง เครื่องสําริดเป็นฐานรองคันฉ่อง มีจารึกอักษรปัลวะ เนื่องในวัฒนธรรมเขมรแบบบายน อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ภาพขวาล่าง ทับหลังแบบสมโบร์ไพรกุก จากปราสาทเขาน้อย สีชมพูที่มีอายุอยู่ในช่วงก่อนสมัยเมืองพระนคร อําเภอ อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
เส้นทางไปสู่กบินทร์บุรีสามารถเดินทางต่อไปยังสระแก้ว วัฒนานคร และอรัญประเทศอันเป็นเส้นทางที่ติดต่อไปยัง “เมืองพระนคร” บริเวณชายขอบทะเลสาบเขมร จึงพบโบราณวัตถุแบบเขมรแพร่เข้ามาในชุมชนบริเวณนี้และผ่านไปยังเมืองพระรถทางจังหวัดชลบุรีด้วย
ชายขอบที่สูงจากบริเวณตำบลเกาะขนุนไปทางเหนือเว้าขึ้นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านเข้าไปในเขตอำเภอโคกปีบ อำเภอศรีมหาโพธิ บริเวณนี้แต่เดิมเรียกว่า “ดงศรีมหาโพธิ” เพราะเคยเป็นทิวดงป่าไม้ใหญ่เลียบชายทุ่งกว้างอันเป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงของลุ่มน้ำบางปะกงไปทางตะวันออก ซึ่งเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสมณฑลปราจีนบุรีทรงพระราชนิพนธ์ว่า “ดงศรีมหาโพธินี้ ยาวยื่นออกไปถึงเมืองโพธิสัตว์และเมืองตะโหนด ทำนาเข้าไปถึงชายดง ในดงก็ทำข้าวไร่และทำไร่เข้าไปมาก..” (พระราชหัตถเลขา ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องเสด็จประพาสมณฑลปราจีน เมื่อ ร.ศ. ๑๒๗) ทั้งนี้ก็คงเนื่องมาจากในสมัยนั้นบริเวณจังหวัดปราจีนบุรีที่อยู่ในเขตภายในที่ต่อเนื่องไปยังอำเภอกบินทร์บุรี สระแก้ว วัฒนานคร และอรัญประเทศในขณะนั้นยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้ตลอดไปนั่นเอง
เมืองโบราณที่ดงศรีมหาโพธินี้แต่เดิมมีชื่อเรียกต่างๆ นานา ว่าเมืองพระรถบ้าง เมืองศรีมโหสถบ้างซึ่งเป็นชื่อที่พวกชาวบ้านเชื้อสายลาวเรียกตามเรื่องราวในปัญญาสชาดกที่เป็นเมืองของพระมโหสถ ซึ่งมีศาสนสถานทั้งแบบฮินดูที่พบเทวรูปต่างๆ จำนวนหนึ่ง และพุทธศาสนาในยุคทวารวดีที่มีความร่วมสมัยกับบ้านเมืองยุคทวารวดีในภาคกลางทั้งทางกลุ่มภาคตะวันตกและตะวันออกของลุ่มน้ำเจ้าพระยา บ้านเมืองในคาบสมุทรภาคใต้ที่รับฮินดูจากอินเดียโดยตรง รวมทั้งโบราณวัตถุอันเนื่องจากวัฒนธรรมเขมรสมัยเมืองพระนคร พวกเทวรูป พระพุทธรูป เครื่องประดับของใช้สำหรับชนชั้นสูงที่ทำจากสำริดต่างๆ รวมทั้งเครื่องปั้นดินเผาที่นำเข้าจาก จีน อาหรับ เขมรในช่วงเวลาต่างๆ ซึ่งวิเคราะห์ได้ว่า เมืองศรีมโหสถเป็นเมืองขนาดใหญ่ที่มีการติดต่อในเชิงการค้าและเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการเมืองในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ ลงมา
ปราสาทขนาดกลางอยู่กลางทุ่งนา แต่ปัจจุบันแวดล้อมไปด้วย สวนยูคาลิปตัส ปราสาทศิลาแลงแห่งนี้น่าจะมีอายุราวหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๖ จนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ซึ่งพบปราสาทในรูปแบบนี้ ในภูมิภาคตะวันออกหลายแห่ง
บริเวณตั้งแต่อำเภอกบินทร์บุรีไปจนถึงสระแก้วและวัฒนานครถือเป็นลุ่มน้ำบางปะกงตอนบน ไม่ปรากฏพบร่องรอยของชุมชนโบราณในสมัยก่อนประวัติศาสตร์แต่อย่างใดบริเวณลุ่มน้ำบางปะกงตอนบนในเขตนี้เป็นที่รวมของลำน้ำ ๒ สาย คือ “ลำน้ำหนุมาน” ที่ไหลลงมาจากเขาพนมดงรักทางเหนือกับ “ลำน้ำพระปรง” ซึ่งไหลมาจากเขตอำเภอสระแก้ว มารวมกันในเขตอำเภอกบินทร์บุรีซึ่งมีสภาพเป็นที่สูงกว่าบริเวณที่ราบลุ่มน้ำบางปะกงตอนล่างที่อยู่ทางด้านตะวันตกและบริเวณที่ราบลุ่มทะเลสาบเขมรในประเทศกัมพูชาซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออก ถัดไปจากเขตอำเภออรัญประเทศ
บริเวณท้องถิ่นในอำเภอวัฒนานครนั้นมีสภาพเป็นสันปันน้ำแบบพื้นที่ราบไม่ใช่สันเขา (Watershed- พื้นที่ซึ่งน้ำไหลรวมไปอยู่ที่เดียวกัน ซึ่งสามารถจัดแบ่งกลุ่มของการอยู่อาศัย ตั้งถิ่นฐานเป็นกลุ่มเดียวกันหรือชุมชนเดียวกัน)
บริเวณเขตสันปันน้ำด้านตะวันตก
แบ่งพื้นที่บริเวณที่สูงในเขตสระแก้วและวัฒนานครออกจากที่สูงในเทางอรัญประเทศและบริเวณทะเลสาบเขมร แถบวัฒนานครนี้จะมีลำน้ำไหลจากเทือกเขาพนมดงรักทางตะวันออกเฉียงเหนือและทางเหนือเรียกว่า “คลองพระปรง” ผ่านเขตอำเภอลงไปทางตะวันตก บรรจบกับ “คลองพระสะทึง” ที่ไหลจากเทือกเขาบรรทัดทางด้านใต้ผ่านบริเวณเขาฉกรรจ์ลงมาในทางสระแก้ว แล้วไหลรวมกันเป็นลำน้ำพระปรงผ่านสระแก้วไปยังกบินทร์บุรี บริเวณนี้จึงรวมกับลำน้ำหนุมานที่ไหลลงมาจากเทือกเขาพนมดงรักทางเหนือกลายเป็นลำน้ำปราจีนบุรี
ชุมชนโบราณจากเขตอำเภอสระแก้วมายังอำเภอกบินทร์บุรีรวมทั้งประจันตคามนั้นไม่พบชุมชนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ แต่มีศาสนสถานแบบขอม เช่น ปราสาท เนินดินรูปสี่เหลี่ยม และสระน้ำขนาดใหญ่หรือบารายในพื้นที่ราบลุ่มที่บ้านปราสาทในตำบลหาดนางแก้ว ซึ่งเป็นชุมชนแบบวัฒนธรรมเขมรจากเมืองพระนครในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘สร้างด้วยศิลาแลง เป็นปราสาทหลังเดียวเหลือเฉพาะฐานปราสาทหลังกลางขนาดราว ๙ เมตร ยาวประมาณ ๑๒ เมตร ล้อมรอบด้วยกำแพงกว้างด้านละราว ๓๒ เมตร สูงโดยเฉลี่ยราว ๑.๔๐ เมตร ด้านนอกกำแพงมีคูล้อมรอบ พบเศษภาชนะดินเผาและกระเบื้องมุงหลังคากระจายอยู่ และภูเขาที่มีหินทรายอันเป็นแหล่งผลิตเทวรูปและพระพุทธรูปบริเวณ “เขาด้วน” ใน ตำบลย่านรีซึ่งอยู่ไม่ห่างไกลจากบ้านปราสาทนัก เป็นภูเขาหินทรายขนาดย่อมๆ พื้นที่โดยรอบเป็นที่ลุ่มและเต็มไปด้วยแหล่งหินทรายเพื่อนำไปสร้างรูปเคารพหรือเทวรูปต่างๆ น่าจะอยู่ในเส้นทางเดินทาง
และบริเวณใกล้เคียงห่างไปราว ๑.๕ กิโลเมตร เป็นเนินดินขนาดใหญ่ที่บ้านดอยลำภู พื้นที่ขนาดราว ๑๐๐ ไร่ พบสะเก็ดหินทรายและโกลนหินชนิดหินสีเขียวแบบเดียวกับที่เขาด้วน จึงน่าจะนำมาจากเขาด้วนเพื่อนำมาผลิตในบริเวณนี้ พบเครื่องมือเครื่องใช้เช่น หินบดและหินที่ใช้บดอาหารและสมุนไพร ชิ้นส่วนพระหัตถ์พระพุทธรูปปางแสดงวิตรรกะและโกลนของฐานที่ตั้งรูปเคารพ
แต่ปรากฏว่ามีชุมชนโบราณสำคัญๆ บริเวณต้นลำน้ำพระปรงแถบสระแก้วและวัฒนานคร และบริเวณต้นลำห้วยพรมโหดจากวัฒนานครไปยังอรัญประเทศ ส่วนใหญ่อยู่ตามลำคลองนางชิงที่มีต้นน้ำจากเขาสามสิบและเขาฉกรรจ์ เป็นที่ราบลุ่มสลับด้วยเนินสูง ชุมชนโบราณที่พบมีขนาดเล็ก ขุดคูน้ำและคันดินรูปกลมติดกับลำน้ำสายเล็กๆ เพื่อใช้เป็นคูเมืองตามธรรมชาติด้วย
บริเวณเนินดินน่าจะเป็นที่อยู่อาศัยของชาวบ้านธรรมดาๆ เพราะไม่มีศาสนสถานทำด้วยอิฐหรือศิลาแลง และมีเศษภาชนะดินเผากระจายอยู่ทั่วไป ลักษณะเศษภาชนะมีทั้งสีดำ สีขาว สีแดง และน้ำตาล มีลายเชือกทาบและแบบผิวเรียบ เป็นแบบอย่างที่พบตามชุมชนแบบทวารวดีในแถวลุ่มน้ำลพบุรี-ป่าสัก และที่สำคัญก็พบแวดินเผาสำหรับใช้ปั่นฝ้ายแบบเดียวกันกับที่พบตามแหล่งทวารวดีทั่วไป จึงน่าจะเป็นชุมชนร่วมสมัยทวารวดี บางแห่งก็มีการขุดสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และแนวคันดินที่มีหน้าที่การกั้นน้ำและแบ่งน้ำที่เรียกว่า “ทำนบ” อันแสดงให้เห็นว่าเป็นชุมชนที่อยู่สืบเนื่องจนถึงยุคสมัยที่รับวัฒนธรรมแบบเขมรในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ลงมาแล้ว
บริเวณเขตสันปันน้ำด้านตะวันออก
จากอำเภอวัฒนานครที่ต่อไปยังอำเภออรัญประเทศนั้นเป็นบริเวณต้นน้ำที่มีลำน้ำและธารน้ำไหลลงจากเทือกเขาพนมดงรักที่อยู่ทางเหนือกับที่ไหลลงจากเทือกเขาบรรทัดทางใต้มารวมกันเป็นลำน้ำใหญ่ที่เรียกว่า “ห้วยพรมโหด” ผ่านเขตอำเภออรัญประเทศเข้าเขตประเทศกัมพูชาไปยังเมืองศรีโสภณในประเทศกัมพูชาแล้วไหลไปรวมกับลำน้ำอื่นๆ ลงทะเลสาบเขมร

แผนที่มาตราส่วน ๑ : ๒๕๐,๐๐๐ แสดงตําแหน่งด่านและสถานที่ตั้งถิ่นฐานโบราณในเขตแนวสันปันน้ํา ๒ เขต คือ แนวสันปันน้ํา ด้านตะวันตก ซึ่งมีแนวลําน้ําคือ “คลองพระปรง” และ “คลองพระสะทึง” ไหลจากเทือกเขาและที่สูงของเทือกเขาพนมดงเร็กและเทือกเขาสอยดาว แนวสันปันน้ํานี้ให้อยู่ในแนวโดยประมาณสีเขียวและไหลรวมเป็นลําน้ําที่สําคัญคือแแม่น้ําบางปะกง
ส่วนแนวสันปันน้ําด้านตะวันออก มีลําห้วยพรมโหด จากเทือกเขาพนมดงรักและ มีลําน้ําสาขาอีกจํานวนหนึ่ง ไหลไปลงทะเลสาบเขมรในกัมพูชา
ตามสาขาของลำห้วยพรมโหดที่ไหลผ่านอำเภออรัญประเทศไปลงทะเลสาบเขมรในประเทศกัมพูชา มีชุมชนโบราณที่มีคูน้ำคันดินล้อมรูปค่อนข้างกลมขนาดใหญ่ และมีการจัดการน้ำซับซ้อนกว่า รูปแบบคล้ายกันกับชุมชนแบบทวารวดีที่พบในลุ่มน้ำเจ้าพระยาทั่วไป พบเศษภาชนะดินเผามีลักษณะเป็นผิวเรียบ และมีรูปแบบค่อนข้างประณีตมากกว่า
“เมืองโบราณริมห้วยพะใย” เป็นชุมชนโบราณรูปกลมบริเวณบ้านหอยริมห้วยพะใยฝั่งตะวันตก ตั้งอยู่ทางใต้ของตัวอำเภอวัฒนานคร ปัจจุบันเส้นถนนจากบ้านท่าเกวียนตัดผ่านกลาง จึงพบแต่เพียงเศษภาชนะดินเผาบ้างเล็กน้อย
จากเมืองโบราณริมห้วยพะใยไปทางตะวันออกราวๆ ๑๐ กิโลเมตร มี “ปราสาทบ้านน้อย” ตำบลผักขะ อำเภอวัฒนานคร แบบแผนผังเป็นอโรคยศาลที่สร้างในสมัยบายน พุทธศตวรรษที่ ๑๘ และที่สำคัญคือพบทับหลังสมัยไพรกเมงที่เป็นทับหลังสมัยก่อนเมืองพระนครอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ลงมา สัมพันธ์กับการพบโบราณสถานทั้งที่ปราสาทเขาน้อยและเขารังคงเป็นศาสนสถานสำคัญที่มีมาแล้วแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒ น่าจะมีความใกล้ชิดและสัมพันธ์กับบรรดาบ้านเมืองหรือชุมชนโบราณในเขตอำเภอวัฒนานครเป็นอย่างมาก เพราะพบทั้งทับหลังที่เป็นศิลปะแบบสมโบร์ไพรกุกและไพรกเมง
ห่างจากชุมชนโบราณริมห้วยพะใยไปทางตะวันออกราวๆ ๑๔ กิโลเมตร มีชุมชนโบราณรูปกลมขนาดใหญ่ที่มีคูน้ำและคันดินชัดเจนอีกแห่งหนึ่งเรียกชื่อว่า “เมืองไผ่” เป็นชุมชนโบราณขนาดใหญ่ ภายในบริเวณชุมชนเมืองไผ่นี้มีเนินดินคันดินและสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมที่ซับซ้อน ลำห้วยเมืองไผ่ที่ไหลมาจากที่สูงในเขตบ้านวังยาวทางตะวันตกไหลผ่านกลางชุมชน มีแนวคันดินที่เป็นทำนบโอบอ้อมเมืองตั้งแต่ด้านตะวันออก วกผ่านด้านใต้ไปจดกับลำห้วยเมืองไปทางด้านตะวันตก เพื่อกักน้ำและชักน้ำและการระบายน้ำสำหรับชุมชน และทางด้านตะวันออกมีการขุดลำคลองเป็นแนวตรงขนานไปกับลำห้วยเมืองไผ่อีกประมาณ ๓-๔ สาย ยิ่งกว่านั้นตามลำคลองนี้ยังมีการขุดสระสี่เหลี่ยมกักน้ำไว้ใกล้ๆ กับตัวเมืองอีกด้วย ลำห้วยเมืองไผ่นี้ไหลไปบรรจบกับลำน้ำห้วยพรมโหดในบริเวณอำเภออรัญประเทศ
ภาพซ้ายบน ธรรมจักรหิน เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติปราจีนบุรี น่าจะนํามาจากบริเวณ บ้านเมืองไผ่ ภาพซ้ายล่าง ภาพถ่ายทางอากาศและภาพซ้อนแนวคูน้ําคันดิน บ้านเมืองไผ่ ในอําเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เมืองโบราณสําคัญที่มีการอยู่อาศัยหลายยุคสมัยและหลากหลายรูปแบบวัฒนธรรมมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ จนถึงสมัยวัฒนธรรมเขมรแบบบายนในพุทธศตวรรษ ที่ ๑๘ ภาพขวา เทวรูปลอยตัว ลักษณะแบบพื้นเมือง ที่มีอิทธิพลศิลปะแบบบายนอย่างเห็นได้ชัดอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘
นอกจากนี้ทางด้านเหนือของเมืองไผ่ก็ยังมีบริเวณพื้นที่ที่มีแนวคันดินล้อมเป็นกรอบเหลี่ยมคล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ภายในคันดินเป็นที่โล่งและชาวบ้านปัจจุบันใช้ทำนา ซึ่งพบรูปแบบการใช้งานรูปเดียวกันในชุมชนโบราณหลายแห่งทั้งในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่นที่เมืองสุโขทัย เมืองละโว้ในจังหวัดลพบุรี และเมืองฟ้าแดดสงยางในจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นต้น
เมืองไผ่คงเป็นเมืองใหญ่ที่สำคัญในบริเวณนี้ เพราะภายในเมืองพบเนินดินที่มีลักษณะเป็นที่อยู่อาศัยมากมาย มีศาสนสถานอยู่หลายแห่งทั้งในเมืองและรอบๆ เมือง แต่ที่เหลือซากให้เห็นขณะนี้ก็มีเพียง ๒ แห่ง อยู่ในบริเวณกลางเมืองแห่งหนึ่งกับนอกเมืองริมคูเมืองอีกแห่งหนึ่ง พบแผ่นหินรูปอัฒจันทร์อันเป็นชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมของปราสาท ซึ่งน่าจะเป็นปราสาทที่มีอิทธิพลแบบเจนละอันมีอายุก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๓
ภายในเมืองมีเนินดินที่ไม่สม่ำเสมอและหนองบึงอันแสดงให้เห็นว่าเคยเกี่ยวเนื่องกับการใช้ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย มีการรวบรวมโบราณวัตถุโดยพระภิกษุและชาวบ้านนำมาเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์วัดบ้านเมืองไผ่ มีทั้งชิ้นส่วนลวดลายปูนปั้น ภาชนะดินเผา เครื่องมือเครื่องใช้ โดยเฉพาะเครื่องมือเหล็ก ลูกปัด เครื่องมือหินขัดและอื่นๆ ซึ่งมีอายุแต่สมัยยุคเหล็กลงมาถึงสมัยทวารวดี ชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมลวดลายและเทวรูป ที่มีความสัมพันธ์กับโคกเนินศาสนสถาน สระน้ำและบาราย ไหเท้าช้างจากเตาบ้านกรวดแบบต่างๆ รวมทั้งเศษภาชนะเครื่องถ้วยจีนในสมัยราชวงศ์หยวนและเหม็ง ซึ่งเป็นวัตถุทางวัฒนธรรมในสมัยวัฒนธรรมเขมรราวๆ แบบเมืองพระนครในพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๖ เป็นต้นมา นอกจากนี้ยังพบชิ้นส่วนแผ่นจารึกอักษรปัลวะที่ยังไม่ได้อ่าน เทวรูปลอยตัวลักษณะแบบพื้นเมืองที่มีอิทธิพลศิลปะแบบบายนอย่างเห็นได้ชัดอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘
เมืองไผ่จึงเป็นเมืองที่มีการอยู่อาศัยมาแต่ดั้งเดิมอาจจะร่วมสมัยกับกับยุคทวรวดีในพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ ทีเดียว และในช่วงเวลานั้นก็ปรากฏว่ามีชนชั้นสูงที่มีการรับวัฒนธรรมร่วมสมัยแบบเจนละดังที่พบศาสนสถานแบบเจนละกลางเมืองและโบราณวัตถุซึ่งร่วมสมัยกับปราสาทเขาน้อยสีชมพูและปราสาทเขาแจงที่อยู่ในเขตอรัญประเทศไม่ห่างไกลนัก
ทางทิศเหนือของ “เมืองไผ่” ประมาณ ๑๒ กิโลเมตรมีชุมชนโบราณที่น่าจะมีอายุในสมัยทวารวดีอีกแห่งหนึ่งมีคูน้ำล้อมรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยมมนโดยทางตะวันตกและทางใต้มีแนวคูน้ำและคันดินโอบล้อมเป็นชั้นนอกอีกชั้นหนึ่ง ตั้งอยู่ใกล้กับลำห้วยนางามที่ไหลผ่านบ้านหันทรายซึ่งลงมาบรรจบกับลำห้วยพรมโหดใต้ในเขตบ้านหนองบัวใหม่ เนื่องจากมีการทำเกษตรกรรมและปรับพื้นที่ไปมากจึงพบเศษภาชนะดินเผาคล้ายกับที่พบในเขตบ้านเมืองไผ่ คาดว่ามีอายุแต่สมัยทวารวดีลงมาจนถึงลพบุรีและทางตะวันออกเฉียงใต้ของชุมชนนี้บริเวณบ้านหันทราย มีเนินดินสูงๆ ต่ำๆ ที่แสดงว่าเคยเป็นชุมชนที่อยู่อาศัย พบชิ้นส่วนแท่งหินทรายที่น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของศาสนสถานที่วัดบ้านหันทราย และมีอ่างเก็บน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด ๓๐๐ x ๒๐๐ เมตรอยู่แห่งหนึ่ง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเป็นชุมชนในวัฒนธรรมแบบเขมรอย่างชัดเจน
ส่วนกลุ่มชุมชนบริเวณตาพระยาซึ่งพื้นที่เป็นแบบที่ราบลุ่มสลับภูเขาลูกโดด ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับเทือกเขาพนมดงเร็กลงมาทางใต้จนจดเขตตำบลโคกสูง แยกออกได้เป็นสองส่วนคือ อาณาบริเวณด้านทิศเหนือกินพื้นที่ในเขตตำบลนางรอง ตำบลทัพราช ตำบลทัพไทย ตำบลทัพเสด็จ ลงมาถึงตลาดสดตาพระยา พบแหล่งโบราณคดีที่เป็นปราสาทในวัฒนธรรมแบบเขมรทั้งเล็กและใหญ่มากมาย ซึ่งเป็นแหล่งชุมชนโบราณที่อยู่ในระนาบเดียวกันกับ “ปราสาทบันทายฉมาร์” อันเป็นเมืองใหม่สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทางฝั่งกัมพูชา จังหวัดบันเตยเมียนเจยในปัจจุบัน
บริเวณด้านใต้อันเป็นที่ลุ่มต่ำมีลำน้ำสายเล็กๆ และที่เป็นหนองขึงในเขตตำบลหนองปรือ ตำบลหนองแวงลงมาถึงตำบลโคกสูงและตำบลโนนหมากมุ่น บรรดาสายน้ำที่ลงจากเขาและที่สูงในบริเวณนี้ไม่ได้ไหลจากตะวันตกมายังตะวันออกอย่างบริเวณตอนบน หากไหลลงจากทางตะวันตกและทางเหนือลงใต้โดยที่มารวมกันในพื้นที่ตำบลหมากมุ่นก่อนที่จะพากันไหลผ่านเข้าเขตกัมพูชา ไปในเขตจังหวัดบันเตยเมียนเจยก่อนเข้าบริเวณที่ลุ่มต่ำในเขตเมืองศรีโสภณ เรียกได้ว่าเป็น “พื้นที่รอบเขาอีด่าง” อันเป็นพื้นที่ที่มีทั้งเขาลูกโดด เขาเล็กเขาน้อย หนองน้ำขนาดใหญ่และเล็กและพื้นที่โคกเนินที่มีลำน้ำใหญ่น้อยไหลลงจากเขาและที่สูงมากมาย พบชุมชนโบราณสมัยเมืองพระนครกระจายกันอยู่มากมาย มีทั้งปราสาทที่ตั้งอยู่บนเขาและหนองน้ำ สระน้ำจำนวนมาก เช่น ปราสาทเขาโล้น ปราสาทสะด๊อกต๊อกธม ปราสาทสระแซร์ออ ปราสาททับเซียม เป็นต้น

ปราสาทสด๊อกก๊อกธม ตำบลโคกสูง อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว อายุกำหนดตามจารึกที่พบราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๖ นับเป็นปราสาท ขนาดใหญ่ที่สุดในเขตสันปันน้ำฝั่งตะวันออก เป็นปราสาทที่มีรูปแบบ ทางศิลปกรรมในช่วงเกลียงต่อกับบาปวน
ชุมชนโบราณและสภาพภูมิประเทศในเขตฟากสันปันน้ำทางตะวันออกนี้ หากใช้ “เขาสามสิบ” เป็นเขาศักดิ์สิทธิ์และเป็นจุดสันปันน้ำ ธารน้ำลำห้วยที่ไหลลงจากเขาและที่สูงจะไหลผ่านลงที่ลุ่มต่ำไปรวมกับลำน้ำพรมโหดไหลผ่านที่ราบลุ่มเข้าสู่บริเวณตัวอำเภออรัญประเทศ อันเป็นจุดที่มีลำห้วยไผ่ไหลผ่านเมืองไผ่มาสมทบ จากนั้นกลายเป็นลำน้ำรวมที่ไหลผ่าน “เมืองปอยเปต” หรือ “บันเตียเมียนเจย” ลงสู่ที่ราบลุ่มไปยังเมืองศรีโสภณ ถือว่าเป็นสันปันน้ำที่แบ่งเขตภูมิวัฒนธรรมอันมีพัฒนาการของชุมชนโบราณแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์คือยุคเหล็กตอนปลายเข้าสู่สมัยก่อนเมืองพระนคร และเมืองพระนครอย่างชัดเจน
โดยสรุป กล่าวได้ว่าพัฒนาการของบ้านเมืองในเขตบริเวณตอนต้นของลุ่มน้ำบางปะกงบรรดาชุมชนเหล่านี้มีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในช่วงยุคหินเช่นที่โคกพนมดีที่ใช้เครื่องมือหินซึ่งสัมพันธ์กับการปรับตัวเพื่ออยู่อาศัยในพื้นที่ใกล้ชายฝั่งทะเลเมื่อราว ๔,๐๐๐-๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว และเข้าสู่ยุคเหล็กตอนปลายเมื่อราว ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว ก่อนจะเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่เมื่อเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ ในช่วงเวลาดังกล่าวมีการอยู่อาศัยของมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์บ้างไม่เห็นภาพของความเป็นชุมชนที่หนาแน่นแต่อย่างใด
ต่อมาเมื่อเข้าสู่ยุคสมัยที่มีการรับอิทธิพลวัฒนธรรมทางศาสนาแล้ว พบว่าชุมชนขนาดใหญ่เช่นที่เมืองศรีมโหสถที่จังหวัดปราจีนบุรีและเมืองพระรถที่จังหวัดชลบุรีมีความสัมพันธ์อย่างยิ่งกับความเชื่อในศาสนาฮินดูมากกว่าพุทธศาสนาเถรวาทแบบทวารวดีอันอยู่ในช่วงเวลาราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ ลงมา ก่อนที่ศิลปวัฒนธรรมแบบเขมรสมัยเมืองพระนครที่มีทั้งศาสนาฮินดูและพุทธมหายานจะแพร่เข้ามาในภายหลัง ซึ่งเห็นได้จากรูปแบบของปราสาทขอมและอโรคยศาล สมัยบายนที่เป็นพุทธมหายานแต่รัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ราวสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ ก็แพร่หลายเข้ามาเป็นช่วงสุดท้าย และเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ บ้านเมืองทั้งในเขตประเทศไทยและกัมพูชาก็เปลี่ยนมาเป็นพุทธเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์
แต่ในพื้นที่ภาคตะวันออกตอนบนแต่เขตอำเภอวัฒนานครที่ลำน้ำลำห้วยจากเขาและที่สูงไหลผ่านอำเภอตาพระยาและอรัญประเทศไปลงทะเลสาบเขมรในเขตกัมพูชานั้น หาได้เป็นบริเวณที่นับถือศาสนาฮินดูเหมือนกันกับชุมชนในลุ่มน้ำปราจีนบุรีหรือลุ่มน้ำบางปะกง แต่สัมพันธ์กับวัฒนธรรมสมัยก่อนเมืองพระนคร (ก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๕) ที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วัฒนธรรมเจนละ”
เพราะพบจารึกหลายหลักในบริเวณนี้ที่สัมพันธ์กับกษัตริย์ในวัฒนธรรมเจนละ เช่น “จารึกที่ช่องสระแจง” ซึ่งกล่าวพระนามของ “กษัตริย์มเหนทรวรมัน” สร้างบ่อน้ำในพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ของบริเวณที่อยู่บนช่องเขาพนมดงเร็กซึ่งเป็นเส้นทางเดินทางสู่บ้านเมืองในพื้นราบของอำเภอตาพระยา กษัตริย์มเหนทรวรมันคือพระองค์เดียวกันกับเจ้าชายจิตรเสนวรมันของเจนละบกที่อยู่ในที่ราบสูงโคราช ผู้ทรงจารึกพระนามไว้ตามสถานที่ต่างๆ เมืองต่างๆ สมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อมาเจ้าชายจิตรเสนพระองค์นี้ได้เข้ามาเป็นใหญ่ในเจนละน้ำคือพื้นที่รอบทะเลสาบเขมรในพระนามว่า “มเหนทรวรมัน” เพราะพระองค์ทรงมีศักดิ์เป็นพระอนุชาของ “ศรีภวรวรมัน” ผู้เป็นใหญ่ของแคว้นเจนละและเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์อิศานวรมันผู้ครองเมืองสมโบร์ไพรกุก เป็นนครหลวงของเจนละน้ำใกล้กับสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง
นอกจากจารึกที่กล่าวถึงพระนามของ “มเหนทรวรมัน” ที่ “ปราสาทช่องสระแจง” แล้ว ยังพบจารึกที่เอ่ยพระนาม “ศรีภวรวรมัน” ข้อความจากศิลาจารึกได้แสดงให้เห็นภาพเกี่ยวข้องกับบ้านเมืองหลายบริเวณ คือ “บริเวณทะเลสาบเขมรและลุ่มน้ำโขงตอนล่าง” “บริเวณลุ่มน้ำมูล-ชีตอนล่างในเขตลุ่มน้ำโขงตอนบน” และ “บริเวณจังหวัดจันทบุรี”อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม เสนอว่าบ้านเมืองในบริวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างในระดับ “โครงสร้างข้างบน” อันเป็นเรื่องของศาสนา การเมืองและสถาบันกษัตริย์ แบบศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ โดยเฉพาะศาสนสถานสำคัญของฮินดูคือ ปราสาทและเทวสถานทางพุทธเถรวาทคือ สถูปหรือธาตุ ส่วน “โครงสร้างข้างล่าง” อันเป็นโครงสร้างพื้นฐานในเรื่องการตั้งถิ่นฐานและชีวิตในการกินอยู่อาศัยโดยเฉพาะเครื่องมือเครื่องใช้เครื่องประดับ และบรรดาภาชนะลักษณะเป็นวัฒนธรรมแบบทวารวดี
ในช่วงหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๙ บ้านเมืองบริเวณนี้ไม่ปรากฏว่าเป็นชุมชนที่เป็นบ้านเมืองสำคัญเช่นในอดีต แต่กลายเป็นเมืองหรือชุมชนเมืองด่านที่อยู่ในเส้นทางข้ามภูมิภาคที่เป็นปากประตูไปสู่บ้านเมืองในเขตเขมรต่ำและบริเวณรอบทะเลสาบเขมร รวมทั้งเป็นเส้นทางเดินทางสู่บ้านเมืองในเขตอีสานใต้โดยใช้ช่องเขาของเทือกเขาพนมดงเร็กผ่านไปสู่บ้านเมืองต่างๆ ในเขตชายฝั่งทะเลโดยเฉพาะทางจันทบุรีที่สามารถเดินทางเรือเลียบชายฝั่งไปสู่บ้านเมืองโพ้นทะเลต่างๆ ได้
เมืองด่านบนเส้นทางติดต่อกับเขมร
ในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นราว พ.ศ. ๑๙๗๔-๑๙๙๑ เป็นช่วงเวลาที่สยามเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองแบ่งเป็นเมืองหลวงและเมืองลูกหลวง แยกสมุหพระกลาโหมออกจากสมุหนายก ตราพระราชกำหนดศักดินาที่แบ่งแยกลำดับชั้นของผู้คนตามฐานันดรที่เปลี่ยนแปลงได้ซึ่งทำให้มีการแบ่งแยกสิทธิและหน้าที่ของแต่ละบุคคลแตกต่างกันไป ยกเลิกระบบการปกครองจากหัวเมืองลูกหลวง หัวเมืองหลานหลวง ซึ่งแบ่งแยกหัวเมืองตามลำดับยศศักดิ์ของพระราชวงศ์ แล้วจัดระบบปกครองหัวเมืองเป็น หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก และเมืองประเทศราช และแบ่งหัวเมืองออกเป็นชั้น เอก โท ตรี และจัตวา โดยที่หัวเมืองชั้นใน มีชื่อเมืองปราจันบุรีมาแต่ครั้งนั้นโดยรวมอยู่กับหัวเมืองที่ใกล้เคียงพระนคร เช่น ราชบุรี นครสวรรค์ นครนายก ฉะเชิงเทรา เป็นต้น
เมืองปราจีนอยู่บนเส้นทางไปสู่เมืองพระนครหลวงและความต้องการของราชอาณาจักรที่ตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อไม่ถึงร้อยปีเช่นกรุงศรีอยุธยา จึงมีความพยายามจะเข้าตีดินแดนแห่งนี้ที่เมืองพระนครอันยิ่งใหญ่ซึ่งผู้คนในผืนแผ่นดินใหญ่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้คงรับรู้กันมาแต่อดีต นักวิชาการบางท่านจึงวิเคราะห์ว่าการเข้าตีเมืองพระนครหลวงนี้เป็นการตีนครรัฐในอุดมคติที่อ่อนแสงลงแล้วอันเป็นสิ่งที่นครรัฐใหม่ๆ ที่เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาแทนที่อย่างกรุงศรีอยุธยา
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ หรือเจ้าสามพระยาเสด็จไปตีเมืองพระนครที่เสียมเรียบเมื่อ พ.ศ.๑๙๗๔ เมื่อกษัตริย์เขมรต้องการไพร่พลจึงเข้ามากวาดต้อนตามหัวเมืองชายแดนของกรุงศรีอยุธยา ทำให้สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ เสด็จยกทัพไปตีเมืองนครหลวงหรือนครธม ตั้งทัพล้อมเมืองพระนครหลวงอยู่ ๗ เดือนก็ตีได้ แล้วให้พระโอรสชื่อพระนครอินทร์ครองเมืองนครหลวง ส่วนพระโอรสอีกองค์คือพระราเมศวรภายหลังให้ครองเมืองพิษณุโลก “พระราเมศวร” นี้คือสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว และเมื่อครั้งไปครอง “เมืองสองแคว” ก็ตั้งชื่อเสียใหม่ว่า “เมืองพิษณุโลก” ตามแบบเมืองพระนครที่มีชื่อเป็นทางการว่า “ปรมวิษณุโลก”
ในยุคสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ นี้ กวาดต้อนผู้คนและสิ่งของสำคัญๆ เช่น เทวรูปสำริดต่างๆ มายังกรุงศรีอยุธยา ทำให้อิทธิพลของเขมรในด้านการปกครอง ประเพณี ตลอดจนงานศิลปะถูกนำมาเลือกใช้ในงานทางประเพณีวัฒนธรรมของกรุงศรีอยุธยา เช่น การสร้างพระราชวังหลวงที่มีสนามหลวงสำหรับพระราชพิธีสนาม การสร้างวัดและอาจจะมีการสร้าง “หอกลอง” ที่อาจจะเลียนแบบปราสาทพิมานอากาศอันมีหน้าที่เป็นหอผีเมืองไว้ในพระบรมมหาราชวังแบบพระราชวังที่เมืองพระนครหลวงหรือนครธม
พระนครอินทร์ครองเมืองพระนครหลวงไม่นานก็สิ้นพระชนม์ ชาวเขมรที่ถูกกวาดต้อนมายังสยามคงมีจำนวนมากเมื่อไม่สามารถกลับไปได้จึงคงปล่อยให้เมืองร้างลง ภายหลังผู้คนต่างๆ รวบรวมกำลังไพร่พล ต่อมาผู้คนทางเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำจึงสร้างเมืองศูนย์กลางที่เมืองละแวก เมืองพระนครอันเคยยิ่งใหญ่ก็กลายเป็นบ้านเมืองขนาดเล็กที่มีผู้คนไม่มากนัก ปัจจุบัน “เมืองละแวกหรือเมืองลงแวก” เป็นตำบลหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดกำปงฉนัง ห่างจากพนมเปญเมืองหลวงของกัมพูชาไปทางเหนือราว ๔๕ กิโลเมตร

“เมืองละแวกหรือเมืองลงแวก” เป็นตําบลหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดกําปงฉนัง ห่างจากพนมเปญ เมืองหลวงของกัมพูชาไปทางเหนือราว ๔๕ กิโลเมตร ภาพวาดผังเมือง ละแวกจาก นักสํารวจชาวดัชท์ ในราวคริสต์ศตวรรษ ที่ ๑๗
ปริมณฑลบริเวณเมืองปราจีนบุรีจะมีขอบเขตแน่ชัดอย่างไรบ้างไม่ปรากฏ เพราะมีชื่อในฐานะหัวเมืองชั้นในคำว่า “ปราจีน” หรือ “ปาจีน” หมายความว่า ทิศตะวันออก ปราจีนบุรีจึงหมายถึงเมืองทางทิศตะวันออกของกรุงศรีอยุธยา มีขุนนางที่เรียกว่า “ผู้รั้ง” เมืองปราจีนในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเป็นหัวเมืองจัตวา ตำแหน่งเจ้าเมืองหรือผู้รั้งมีบรรดาศักดิ์และราชทินนามในครั้งนั้นคือ “ออกพระอุไทยธานี”
และเป็นหัวเมืองสำคัญที่อยู่ในเส้นทางเดินทัพจากกรุงศรีอยุธยาไปยังหัวเมืองทางฝั่งตะวันออก เช่นจันทบุรีและเขมร และแยกขึ้นเหนือไปทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปัจจุบัน ในขณะที่เขมรย้ายเมืองไปอยู่บริเวณใกล้สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงที่ “เมืองละแวก” (รุ่งเรืองในราว พ.ศ. ๒๐๙๖-๒๑๓๖) และมีความอ่อนแอในทางการเมืองเมื่อเปรียบเทียบกับกรุงศรีอยุธยา จึงต้องยอมรับฐานะที่ตกเป็นประเทศราชและกษัตริย์เขมรก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของราชวงศ์ที่ต้องถวายการสวามิภักดิ์แก่ราชวงศ์ที่กรุงศรีอยุธยา แต่ในช่วงที่อำนาจศูนย์กลางอ่อนแอหลังการถูกราชอาณาจักรที่มีศูนย์กลางที่เมืองหงสาวดี กษัตริย์เขมรที่เมืองละแวกก็ลอบเข้ามากวาดเทครัวผู้คนตามชายขอบชายแดนทางภาคตะวันออกกลับไปเป็นพลเมืองของตนบ่อยครั้งรวมถึงการลอบเข้ามาตีเมืองทางชายฝั่งทะเลด้วย ซึ่งรัฐในอดีตที่ผู้คนมีจำนวนน้อยไพร่พลจึงถือว่าเป็นทรัพยกรสำคัญมากที่สุด ในช่วงนี้ต้องทำสงครามกับกษัตริย์เขมรที่เมืองละแวกหลายครั้งหลายคราว จนถึงขั้นสุดท้ายถึงขั้นสมเด็จพระนเรศวรยกทัพไปตีเมืองละแวกและยึดครองให้ยินยอมอ่อนน้อมต่อกรุงศรีอยุธยาอย่างสืบเนื่องต่อมา
เส้นทางเดินทัพทางบกที่สมเด็จพระนเรศวรใช้ไปตีเมืองละแวก ผ่านเมืองด่านที่เป็นชุมชนชายขอบอำนาจรัฐหลายแห่งไปจนถึงเมืองละแวกที่ใกล้ทะเลสาบเขมร
จากกรุงศรีอยุธยามาทางตะวันออก ผ่านพิหานแดง บ้านนา เมืองนครนายก “ด่านกบแจะ” หรือเมืองประจันตคาม)ในเวลาต่อมา “ด่านหนุมาน” หรือเมืองกบินทร์บุรีในเวลาต่อมา “ด่านพระปรง” อยู่ในเขตสระแก้วในปัจจุบัน ช่องตะโก ด่านพระจารึกหรือพระจฤตหรือพระจริต ซึ่งมีนักวิชาการเสนอว่าอยู่แถบอำเภอวัฒนานครในปัจจุบัน (ศานติ ภักดีคำ, ด่านพระจารึกอยู่ที่ไหน เหตุใดต้องจารึก จากจุดปักปันเขตแดนสู่ด่านไทยสมัยอยุธยาถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์, ศิลปวัฒนธรรม หน้า ๑๓๐-๑๔๒) ตำบลทำนบที่อยู่ระหว่างเมืองอรัญประเทศกับเมืองพระตะบอง ตำบลเพนียด เมืองพระตะบอง เมืองโพธิสัตว์ จนถึงเมืองละแวก
“ด่านพระจารึก” นี้มีรายละเอียดกล่าวว่า เป็นการปันเขตแดนเป็นสัญญาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาในสมัยกรุงศรีอยุธยากับสมเด็จพระปรมินทราชา (พระบิดาของสมเด็จพระสัฎฐา) จากเมืองละแวก เมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๘ โดยทำเป็นหลักสีมาจารึกข้อตกลงร่วมกันปักไว้เป็นหลักฐาน มีรายละเอียดการปันแดนในทางเขตแดนส่วนหนึ่งกล่าวว่า “…สีมาที่ “รอางศิลา” เป็นต้นไปทิศใต้จนถึงทะเล เกาะจันทบุรี ตั้งแต่รอางศิลาไปทางตะวันออกจนถึงพรมแดนเมืองนครราชสีมาไปทางเหนือจนถึงแดนล้านช้าง ทางด้านทิศตะวันตกของดินแดนเหล่านี้ถือเป็นแดนกรุงศรีอยุธยา ทางด้านทิศตะวันออกของดินแดนนี้ถือเป็นแดนกรุงกัมพูชา” และนักวิชาการสันนิษฐานว่าด่านพระจารึกน่าจะอยู่แถวหลุมศิลาแลงขนาดใหญ่โบราณที่เรียกว่า “อ่างศิลา” ในอำเภอเมืองสระแด้ว จังหวัดสระแก้ว (ศานติ ภักดีคำ, ด่านพระจารึกอยู่ที่ไหนเหตุใดต้องจารึก จากจุดปักปันเขตแดนสู่ด่านไทยสมัยอยุธยาถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์, ศิลปวัฒนธรรม หน้า ๑๓๐-๑๔๒)
ส่วนที่ตั้งของ “ด่านพระปรง” แม้ปัจจุบันจะพบศาลขนาดใหญ่โตริมถนนหมายเลข ๓๓ ใกล้กับลำน้ำพระปรงอันเป็นแนวแบ่งเขตแดนระหว่างอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรีและอำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว แต่การสอบถามชาวบ้านจึงทราบว่าศาลเจ้าพ่อพระปรงหลังเดิมนั้นอยู่เข้าไปด้านในของลำน้ำบริเวณที่ใกล้กับบ้านปากน้ำ ซึ่งเป็นบริเวณที่สบกันของลำน้ำพระปรงและลำน้ำพระสทึง ชาวบ้านเล่าว่าเจ้าพ่อพระปรงมีนามว่า “หลวงเดชาศิริ” เป็นนายด่านที่นี่และเสียชีวิตครั้งยกทัพไปตีพระยาละแวก ด่านพระปรงดูแลเขตชายแดนทิศตะวันออกถึงเขตแดนประเทศกัมพูชา ทิศตะวันตก สุดแดนเมืองปราจีนบุรี ทิศเหนือจดเมืองนครราชสีมา และทิศใต้จดแดนเมืองจันทบุรี
เมืองเขมรย้ายศูนย์กลางไปอยู่ที่ “เมืองอุดงมีชัย” หรือเมืองบันทายเพชร ตั้งแต่ พ.ศ.๒๑๖๑ จนถึงราวๆ พ.ศ. ๒๔๐๖ เป็นช่วงเวลาของความไม่มั่นคงของบ้านเมือง มีการแย่งชิงราชสมบัติกันตลอดเวลาแทบทุกรัชกาล มีการขอร้องให้ฝ่ายญวนทางใต้และกรุงศรีอยุธยาจนถึงกรุงเทพฯ มาเป็นผู้อุปถัมภ์ในการทำศึกภายในระหว่างเชื้อพระวงศ์ด้วยกันเองอย่างต่อเนื่อง กลายเป็นเมืองสองฝ่ายฟ้าที่ทำให้เกิดมีการสงครามสู้รบกันสืบมาตลอดต้นสมัยกรุงเทพฯ จนถึงรัชกาลที่ ๔ และ ๕ ก่อนจะตกเป็นรัฐในอารักขาหรืออาณานิคมของฝรั่งเศส
ท้องถิ่นเมืองด่านเหล่านี้เป็นเส้นทางข้ามภูมิภาคไปสู่บ้านเมืองในเขตเขมรต่ำและบริเวณรอบทะเลสาบเขมรก็ได้ เป็นเส้นทางเดินทางสู่บ้านเมืองในเขตอีสานใต้โดยใช้ช่องเขาของเทือกเขาพนมดงเร็ก เช่น ช่องตะโกก็ได้ และเป็นเส้นทางไปสู่บ้านเมืองต่างๆ ในเขตชายฝั่งทะเลโดยเฉพาะทางจันทบุรีทางชายฝั่งทะเล
ดังนั้นเมื่อครั้งศึกครั้งเจ้าอนุวงศ์ก็ยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ ราว พ.ศ. ๒๓๖๙ ทัพสายหนึ่งก็เดินทัพผ่านทางเมืองปราจีนและเมื่อกลับจากศึกสงครามทางฝ่ายเหนือก็กวาดต้อนผู้คนจากหัวเมืองลาวไม่ว่าจะเป็นจากเมืองพวน เมืองเวียงจันทน์ ทางหัวเมืองต่อกับหลวงพระบางที่มีชาวญ้อและหัวเมืองลาวกลุ่มอื่นๆ มาไว้เป็นไพร่พลที่เมืองปราจีนบุรีและกบินทร์บุรีตลอดไปจนถึงวัฒนานครและอรัญประเทศ จนทำให้มีผู้คนและหมู่บ้านจำนวนมากเกิดขึ้นในท้องถิ่นนี้อย่างเห็นได้ชัดในช่วงเวลาต่อมา
ส่วนเส้นทางทัพที่ใช้เมื่อไปเวียงจันทร์คราวศึกเจ้าอนุวงศ์ในโคลงนิราศฉะเชิงเทราของ “กรมหลวงภูวเนตรนริทรฤทธิ์” หรือ “พระองค์เจ้าทินกร” พระอนุชาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอยู่ในทัพที่ ๒ นำทัพไปตีเวียงจันทน์อีกทางหนึ่ง นอกเหนือจากทัพหลวงที่เดินทางไปทางสระบุรีแล้วเข้าสู่ดินแดนที่ราบสูงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานทางช่องเขาบริเวณชัยบาดาลเข้าสู่หนองบัวลำภู ผ่าน “ช่องข้าวสาร” ที่เป็นช่องทางเข้าสู่เขตเทือกเขาภูพานแล้วเดินทางไปออกทางเมืองศรีเชียงใหม่ที่อยู่ตรงข้ามเวียงจันท์ ซึ่งมีนิราศสำคัญอีกฉบับหนึ่งคือ “นิราศทัพเวียงจันท์ ของหม่อมเจ้าทับ ในกรมหลวงเสนีย์บริรักษ์ ส่วนพระองค์เจ้าทินกรเสด็จไปในกองทัพด้วยและได้แต่งโคลงนิราศขึ้น ๑๑๗ บท ซึ่งจบลงที่บริเวณเมืองฉะเชิงเทรา หลังจากนั้นสันนิษฐานกันว่าคงต้องถอนทัพกลับเพราะต้องการให้มารักษาเมืองป้อมปากน้ำที่สมุทรปราการ จากความตึงเครียดจากทางอังกฤษ
โดยเป็นทัพเรือจากกรุงเทพ ฯ ไปตามลำน้ำเจ้าพระยา ผ่านฉนวนท่าน้ำ ผ่านวัดบพิตรภิมุข สามปลื้ม สามเพ็ง บางรัก คอกกระบือ ดาวคะนอง บางคอแหลม พระโขนง บางวัว บางนา สำโรง สามสิบสองโคก ทับนาง ทับลาน บางพลี ศรีษะจระเข้ บ้านหอมสิน บ้านพร้าว บางผึ้ง เขาดิน ทุ่งโพ แปดริ้ว พญาพายเรือ บางขนาก ทรายมูล บางแตน จนถึงปากน้ำโยทะกา
เนื้อหาในโคลงนิราศโดยธรรมเนียมคือการพรรณนาถึงผู้เป็นที่รักซึ่งต้องจากกันด้วยการเดินทางรอนแรม และอธิบายถึงสถานที่ต่างๆ ที่พบเห็นในระหว่างทางนั้น ส่วนนิราศฉะเชิงเทรานั้นจบความลงที่บริเวณปากน้ำโยธกาอันเป็นจุดรวมแม่น้ำนครนายกกับแม่น้ำปราจีนบุรีบริเวณเมืองฉะเชิงเทราเท่านั้น จึงยังไม่เห็นว่าหากใช้เส้นทางน้ำเดินทางต่อเนื่องไปจนถึงเมืองปราจีนบุรีที่ต่อเนื่องยังชายดงศรีมหาโพธิ กบินทร์บุรีที่เป็นต้นน้ำบางปะกงหรือน้ำปราจีนบุรี ก่อนจะเข้าสู่ด่านหนุมานและด่านพระปรงที่เมืองกบินทร์บุรีและสระแก้ว เส้นทางนี้ก็น่าจะเดินทางบกเพื่อข้ามช่องเขาที่ “ช่องตะโก” เข้าสู่โนนดินแดง เสิงสา และละหานทรายในจังหวัดบุรีรัมย์ปัจจุบัน
ต่อมาเมื่ออันนัมซึ่งหมายถึงบ้านเมืองในเวียดนามทางตอนกลางปัจจุบัน ซึ่งมีราชวงศ์เหงีวยนพยายามฟื้นฟูบ้านเมืองโดยรวบรวมเอาเมืองต่างๆ คราวเกิดกบฎไต้เซิน “องเชียงสือ” จากราชวงศ์เหงีวยนขอความช่วยเหลือมาจากกรุงเทพฯ และมาพำนักที่กรุงเทพฯ ระยะหนึ่งแล้วเสด็จกลับไปปราบพวกไต้เซินได้ด้วยความช่วยเหลือจากฝรั่งเศส หลังจากยึดเมืองเว้และฮานอยได้ ในปี พ.ศ. ๒๓๔๕ แล้ว องเชียงสือก็ประกาศพระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดิ์ยาลอง

ภาพแผนที่โบราณจากหนังสือ “Royal Siamese Maps : War and Trade in Nineteenth Century Thailand” เขียนโดย Santanee Phasuk, Philip Anthony Stott. River Books, 2006
เมื่อรวมกับความพยายามที่ราชวงศ์เหงีวยนโดยพระเจ้าหมินหมางพยายามเข้ามามีบทบาทในลาวและเขมรที่ฝ่ายสยามอ้างว่าเป็นรัฐในอารักขาจนทำให้เกิดความบาดหมางใจในเวลาต่อมาครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยต่อเนื่องจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมกับความวุ่นวายแย่งชิงราชสมบัติในราชสำนักเขมรและเชื้อพระวงศ์พระองค์หนึ่งไปขอความช่วยเหลือราชวงศ์เหงีวยนที่ไซ่ง่อนเพื่อขยายอำนาจไปปกครองบ้านเมืองแถบสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงทั้งหมด และยังมีการขุดคลองสำคัญๆ เพื่อสะดวกแก่การเดินทัพจากชายฝั่งทะเลที่เมืองเปียมหรือบันทายมาศเข้าสู่บ้านเมืองภายในโดยตั้งมั่นอยู่ที่เมืองโจวดก (หรือในชื่อเขมรว่าเมืองม็วตจรูกและที่คนไทยคุ้นเคยในชื่อ “เมืองโจฎก”) ยึดครองดินแดนกัมพูชาที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงทั้งหมด อีกฝ่ายหนึ่งของความช่วยเหลือจากทางกรุงเทพฯ ซึ่งมีความสัมพันธ์ในการส่งเชื้อพระวงศ์สำคัญมาอยู่อาศัยในราชสำนักและสยามดูแลเมืองในอารักขาคือ พระตะบอง เสียมเรียบ และศรีโสภณ
การที่อันนัมแผ่อิทธิพลทางการเมืองเข้ามาสู่ดินแดนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงเช่นนี้ หลังจากศึกเจ้าอนุวงศ์แล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพไปตีหัวเมืองญวนไปจนถึงไซ่ง่อนหรือบริเวณเมืองโฮจิมินห์ในเวียดนามทางใต้ในปัจจุบัน โดยยกไปทางบก และมีกองทัพเรือที่เข้าตีหัวเมืองทางชายฝั่งทะเลจนถึงบันทายมาศหรือเมืองฮาเตียน แล้วเคลื่อนทัพเรือโอบไปบรรจบรบกับทัพเรือของญวนแต่ก็ต้องพ่ายแพ้ทางทัพเรือเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๖ จนถึงสงครามครั้งต่อมาใน พ.ศ. ๒๓๘๓ และ พ.ศ. ๒๓๘๘ จนถึงเมื่อทำการสงบศึกใน พ.ศ. ๒๓๙๐ รวมเวลากว่า ๑๔ ปี เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปจากหนังสือที่เขียนขึ้นใหม่ว่าเป็นศึก “อานามสยามยุทธ์ ว่าด้วยสงครามระหว่างไทยกับลาว เขมร และญวน“ (ก.ศ.ร. กุหลาบ, อานามสยามยุทธ สงครามไทย-เวียดนาม) ความวุ่นวายในเขมรสงบลงเจรจาสงบศึก เพราะทรงพิจารณาว่ามีแต่จะสิ้นเปลืองทรัพยากรและกำลังคนไม่มีจุดสิ้นสุดและเจรจาให้มีข้อตกลงให้สมเด็จพระหริรักษ์รามาหรือนักองค์ด้วงครองกัมพูชาในความคุ้มครองของสยามแต่ให้ส่งบรรณาการแก่อันนัมด้วย
ช่วงต้นกรุงเทพฯ “ปราจีนบุรี” ยังมีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นในเหมือนครั้งสมัยอยุธยา แต่เมื่อการสงครามที่ต้องเดินทัพผ่านบ้านเมืองในอาณาบริเวณนี้สิ้นสุดลง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างป้อมเมืองฉะเชิงเทราหลังจากที่สร้างไว้ที่เมืองจันทบุรี เมืองพระตะบองและเมืองเสียมราฐ ยกบ้านขึ้นเป็นเมืองหลายแห่งในเส้นทางเดินทัพ และต่อเรือป้อมแบบทางญวนและต่อเรือกำปั่นเพื่อการรบซึ่งปรากฏขึ้นในตลอดรัชกาลซึ่งมีแทบทุกด้านในช่วงที่กระแสการเข้ามาของประเทศล่าอาณานิคมกำลังบีบคั้นบ้านเมืองต่างๆ ในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ภาพซ้าย แผนที่แสดงสถานที่ต่างๆ ในเส้นทางแม่น้ําบางปะกง จากนิราศของพระองค์เจ้าทินกร เสด็จไปทัพในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ภาพแผนที่จากหนังสือ นิราศทัพเวียงจันทน์, สุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการ, ๒๕๔๔) ภาพล่าง ภาพเขียนสีน้ําจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์กว่างจุง หมู่บ้านไต้เซิน จังหวัดเหงียะบินห์ แสดงถึงการรบกับชาวสยามในครั้งศึกอานามสยามยุทธ เพียงแต่ในจินตนาการของชาวเวียดนาม ใช้เรืออนันตนาคราช แทนความเป็นสยามซึ่งในความเป็นจริงเรือพระที่นั่งนี้ใช้เพื่อพิธีกรรมไม่ได้นํามาใช้เป็นเรือรบ
และเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๓ โปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านขึ้นเป็นเมือง เช่น “ด่านหนุมาน” ที่บ้านเมืองเก่าขึ้นเป็น “เมืองกบินทร์บุรี” ยก “บ้านแร่หิน” ขึ้นเป็น “เมืองอรัญประเทศ” ยก “บ้านเขยก” ขึ้นเป็น “เมืองวัฒนานคร” และยก “บ้านสวาย” ขึ้นเป็น “เมืองศรีโสภณ”
ภาพขวาบน วัดหลวงบดินทร์เดชา ตั้งอยู่ที่บ้านดงเย็น ตําบลหลวงบดินทรเดชา อําเภอกบินทร์บุรี วัดหลวงบดินทร์ฯ ถือเป็นวัดที่ “ตระกูลสิงหเสนี” อุปถัมภ์. ภาพขวาล่าง วิหารขนาดเล็กรูปแบบสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว หน้าบันแกะไม้เรียบง่ายสวยงาม. ภาพซ้ายล่าง รูปปั้นเจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) นายทัพคนสําคัญในศึกเขมรและญวนในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ภาพจากซ้ายไปขวา รูปปั้นเจ้าพระยาบดินทร์เดชา ที่วัดพระยาทํา บ้านกระโดนในอดีต ฝั่งตรงข้ามกับตลาดเก่า กบินทร์บุรี, เจดีย์ย่อมุม รูปแบบรัตนโกสินทร์ตอนต้นศาลาท่าน้ำ ริมแควหนุมาน ที่วัดพระยาทํา, และวัดหนองรู หรือวัดแก้วรังษี ที่บ้านเมืองเก่า
ร่องรอยการเดินทัพที่ปรากฏในท้องถิ่นพบว่ามีวัดเก่าแก่ที่เกี่ยวเนื่องกับท่านแม่ทัพคือเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กล่าวกันว่า “บ้านกระโดน” ริมลำน้ำหนุมาน เป็นที่พักทัพและทำนาโดยนิมนต์พระมาในทัพด้วย หลังจากเสร็จศึกแล้วจึงให้ชื่อว่า “วัดพระยาทำ” ในเมืองกบินทร์บุรี และ “บ้านบัวลอย” ที่หยุดพักกองเกวียนให้ชื่อว่า “วัดโรงเกวียน” และเมื่อเดินทัพกลับมาถึงบริเวณที่ตั้งวัดแจ้งปราจีนบุรีเป็นเวลารุ่งเช้า จึงได้สร้างวัดขึ้นในบริเวณดังกล่าว เรียกว่า “วัดแจ้ง” วัดโรงเกวียนและวัดแจ้งทั้งสองแห่งอยู่ใกล้แม่น้ำปราจีนบุรีในอำเภอเมืองปัจจุบัน และมีการเกณฑ์แรงงานชาวลาวที่บ้านเมืองเก่าไปรบและทำถนนจากด่านหนุมานที่กบินทร์บุรีไปจนถึงเมืองพระตะบอง แนวถนนเก่านี้เรียกกันว่า “ถนนเจ้าพระยาบดินทร์” โดยมีวัดหนองรูหรือวัดแก้วรังษีเป็นที่ตั้งทัพ และวัดหลวงบดินทร์เดชาเป็นวัดที่นำเอาพระพุทธรูปจากเขมรมาไว้เป็นพระประธานหลังจากเสร็จศึก