วลัยลักษณ์  ทรงศิริ

บริเวณ “กบินทร์บุรี” ได้ชื่อว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้ํา เพราะสภาพแวดล้อมเอื้อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์และมีเส้นทางเดินทางทั้งทางน้ําและทางบกเชื่อมต่อได้ตลอดมาตั้งแต่สมัยโบราณที่เป็นเส้นทางเดินทัพและติดต่อกับบ้านเมืองในเขตเขมรต่ำและเขมรทะเลสาบตลอดจนทางภาคอีสานที่ผ่านช่องเขาของเทือกเขาพนมดงเร็กเข้าสู่อีสานใต้หรือเข้าสู่ลุ่มน้ําโขง

หลังศึกทางฟากตะวันตกทางฝ่ายพม่าจบสิ้นลงเมื่อราว พ.ศ. ๒๓๙๓ สยามก็มีการศึกกับบ้านเมืองทางฟากตะวันออกคือ ลาว เขมร และญวนกว่า ๑๔ ปีในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดรูปแบบหัวเมืองใหม่ ยกชุมชนหน้าด่านหลายแห่งขึ้นเป็นเมือง เช่น “ด่านกบแจะ” ยกเป็น “เมืองประจันตคาม” “ด่านหนุมาน” ยกเป็น “เมืองกบินทร์บุรี” ยก “บ้านแร่หิน” เป็น “เมืองอรัญประเทศ” ยก “บ้านเขยก” เป็น “เมืองวัฒนานคร” และยก “บ้านสวาย” ขึ้นเป็น “เมืองศรีโสภณ” ฯลฯ (พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลท่ี ๓ ของเจ้าพระยาทิพากรวงศมหาธิบดี, กรมศิลปากร)

และเมื่อมีการกวาดต้อนครัวลาวจากหัวเมืองหลายแห่งที่เคยขึ้นต่อทั้งเวียงจันทน์และหลวงพระบาง ก็มีการเทครัวมาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่บริเวณเมืองด่านทั้งหลายคือ ประจันตคาม กบินทร์บุรี สระแก้ว วัฒนานคร อรัญประเทศ ตลอดจนไปถึงศรีมหาโพธิที่ต่อเนื่องไปถึงเมืองปราจีนบุรี บ้านสร้าง พนมสารคาม ฉะเชิงเทรา เป็นต้น บ้านเมืองทางหัวเมืองฟากตะวันออกนี้จึงมีความเป็นปึกแผ่นอันเนื่องมาจากจํานวนครัวชาวลาวที่ถูกกวาดต้อนมาต้ังบ้านตั้งเมืองใหม่นี่เอง

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวน้ีเอง โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลอง “บางขนาก” จากหัวหมากไปถึงเมืองฉะเชิงเทราเป็นเส้นทางลําเลียงเสบียงอาหารและกําลังพลอาวุธต่างๆ เพื่อใช้ในการทําศึกทางฟากตะวันออก ต่อมาทั้งสองฝั่งคลองได้มีการเข้าไปบุกเบิกตั้งถิ่นฐานตามเส้นทางดังกล่าวจนกลายเป็นเส้นทางคมนาคมสําคัญระหว่างเมืองฉะเชิงเทราและพระนคร  

“ด่านหนุมาน” น่าจะเป็นชุมชนด่านในระดับหมู่บ้านหรือเมืองขนาดเล็กและน่าจะตั้งอยู่บริเวณใกล้กับศาลเจ้าพ่อหนุมานบริเวณ ริมแควหนุมานฝั่งตะวันตกบริเวณบ้านเมืองเก่าที่คงมีจํานวนผู้คนไม่มากนัก เพราะในสมัยกรุงศรีอยุธยาผู้คนไพร่พลมีจํานวนน้อยและมักมีเหตุให้มีการเข้ามากวาดต้อนผู้คนจากบ้านใกล้เรือนเคียงเสมอ ดังนั้นยิ่งเมื่อเป็นเมืองด่านผู้คนพลเมืองจึงน้อยตามไปด้วย

เราจึงไม่พบร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดีของการตั้งถิ่นฐานปรากฏอยู่นอกจากความเชื่อที่ยังคงสืบต่อกันมา เช่น การสร้างศาลเจ้าพ่อพระปรง ชุมชนบ้านด่านเมืองด่านอีกแห่งหนึ่งที่อยู่ไม่ไกลนักกับด่านหนุมาน

ปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดําริให้สร้างป้อมเมืองปราจีนบุรี แต่สร้างแล้วเสร็จในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะอยู่ในเส้นทางไปสู่เขมรและญวนซึ่งกําลังตกอยู่ในช่วงยุคแห่งการล่าอาณานิคม ความสําคัญของบ้านเมืองบริเวณนี้ที่ถือว่าอยู่ในเขตชายแดนจึงมีความสําคัญทั้งในการเริ่มสร้างขอบเขตดินแดนตามแผนที่อย่างสากลและต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างมาก ฝรั่งเศสอ้างสิทธิ์ในการปกครองกัมพูชาในสมัยพระเจ้านโรดมแทนไทย โดยอ้างว่าฝรั่งเศสมีอํานาจปกครองญวนก็ต้องมีอํานาจปกครองกัมพูชาด้วยเพราะญวนมีอํานาจปกครองกัมพูชา

25

แผนที่มาตราส่วน ๑ : ๒๕๐,๐๐๐ แสดงบริเวณเมืองกบินทร์บุรี ซึ่งเป็นที่สบของสายน้ำสำคัญคือ ด้านตะวันออกมีแควพระปรงและแควพระสะทึงมาสมทบเป็นลำห้วยพระปรง บริเวณด้านบนหรือทิศเหนือ มีห้วยโสมงมาสมทบกับลำแควหนุมานเป็นแควหนุมานแล้วมาสบกับแควพระปรงที่บ้านปากน้ำ เมืองกบินทร์บุรี ถือเป็นต้นน้ำแม่น้ำปราจีนบุรีหรือแม่น้ำบางปะกง หลังจากนั้นจึงไหลผ่านศรีมหาโพธิ เมืองปราจีนบุรี บ้านสร้าง บางคล้า ฉะเชิงเทรา ก่อนออกทะเลที่ปากน้ำบางปะกง

หัวเมืองที่เคยถูกปกครองโดยตระกูลพระยาอภัยวงศ์ ตั้งแต่ครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ โปรดเกล้าฯ ให้ขุนนางไทยออกไปกินเมือง โดยตอบแทนความดีความชอบแก่เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน) ที่ทําสงครามและร่วมจัดการความวุ่นวายในเขมร จึงทรงขอเมืองที่ติดกับสยามจากสมเด็จพระนารายณ์ฯ (นักองค์เอง) ให้พระยาอภัยภูเบศรเป็นผู้ปกครองให้ข้ึนตรงต่อกรุงเทพฯ โดยตรงเพื่อคอยคุ้มครองเขมรอย่างใกล้ชิด เขมรจึงถูกแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือส่วนที่ขึ้นกับสยามโดยตรงเรียกว่า “เขมรส่วนใน” ประกอบด้วยหัวเมืองหลักๆ คือ พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ โปริสาท (โพธิสัตว์) และอุดงฤไชย และ “เขมรส่วนนอก” ตั้งแต่พนมเปญ ไปจนจรดเขตแดนภาคตะวันออกติดชายแดนญวน มีเจ้าเขมรปกครอง 

การปกครองในเขตนี้มีลักษณะพิเศษเพราะถึงแม้จะข้ึนตรงต่อกรุงเทพฯ แต่ให้ปกครองกันเองตามประเพณีเขมร และให้เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน) เก็บภาษีอากรใช้จ่ายในการปกครองได้ด้วยตนเอง

ตําแหน่งเจ้าเมืองพระตะบองอันเป็นศูนย์กลางของการปกครองเขมรส่วนใน จึงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของลูกหลานเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน) ต้นสกุลอภัยวงศ์ตลอดมารวมเวลา ๑๑๒ ปี (พ.ศ. ๒๓๓๗-๒๔๔๙) และเมื่อเปลี่ยนจากระบบเจ้าเมืองเป็นการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เมืองเขมรส่วนนอกอยู่ใน “มณฑลบูรพา” ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๖ ประกอบด้วย เมืองเสียมราฐ พระตะบอง พนมศก และศรีโสภณ หลังจากนั้นอีกราว ๓ ปี รัฐบาลสยามต้องทํา “อนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๙๐๔” แลกกับความเสียเปรียบในเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขตและให้ฝรั่งเศสถอนทหารออกจากจันทบุรี ซึ่งต่อเนื่องจนถึงการแลกเปลี่ยนเมืองตราดและด่านซ้ายในปี พ.ศ. ๒๔๔๙ ซึ่งทางสยามต้องมอบพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ 

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) เป็นเจ้าเมืองพระตะบองคนสุดท้ายและเป็นสมุเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลบูรพา

ทําให้เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) เป็นเจ้าเมืองพระตะบองคนสุดท้าย และเป็นสมุหเทศาภิบาลสําเร็จราชการมณฑลบูรพาก็พาผู้สมัครใจทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิดเมืองนอนติดตามมาอยู่ ณ เมืองปราจีนบุรี ต่อมาท่านบริจาคทรัพย์สร้างโรงเรียน โรงพยาบาล บูรณปฏิสังขรณ์ “วัดแก้วพิจิตร” โดยเป็นผู้อํานวยการก่อสร้างและออกแบบเอง และเป็นท่านตาของพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงสร้างตึกอภัยภูเบศร ซึ่งต้ังใจรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวในขณะนั้น โดยเป็นตึกทรงเดียวกับที่พํานักในเมืองพระตะบอง ตึกดังกล่าวนี้ภายหลังเป็นส่วนหนึ่งของโรงพยาบาลอภัยภูเบศรที่ท่านบริจาคที่ดินให้

เมื่อเริ่มปฏิรูปการปกครองเป็นระบบเทศาภิบาลเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕ จึงได้ใช้เมืองปราจีนเป็นที่ว่าการ “มณฑลปราจีน” เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕ ประกอบด้วยเมืองปราจีนบุรี เมืองชลบุรี เมืองนครนายก เมืองฉะเชิงเทรา เมืองบางละมุง เมืองพนัสนิคม เมือง พนมสารคาม หมายถึงเป็นศูนย์กลางของท้องถิ่นในภูมิภาคตะวันออก และอีกประการหนึ่งคือมีการค้นพบ “แหล่งทองคํา” ที่เมืองกบินทร์บุรี มีการทําเหมืองทองคําในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทําให้หัวเมืองปราจีนบุรีมีความสําคัญในฐานะที่หวังจะให้เป็นเมืองทางอุตสาหกรรมแร่ที่ให้คุณค่าทางเศรษฐกิจ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาส ปราจีนบุรี ๒ ครั้ง ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๕ และครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑ โดยเสด็จจากพระนครลัดเลาะไปออกแม่น้ํา นครนายกและเข้าสู่แม่น้ําบางปะกงที่ “ปากน้ําโยทะกา” ส่วนขากลับเสด็จพระราชดําเนินมาทางแม่น้ําปราจีนบุรีแล้วเข้าปากคลองบางขนากในอําเภอบางน้ําเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา แล้วตัดมาออกท่ีปากน้ําเมืองสมุทรปราการ 

ผู้คนในเส้นทางเมืองด่านชายแดน

ตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรีจนถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สยามยกทัพไปตีหัวเมืองลาวทั้งทางหลวงพระบางทางตอนเหนือ ทางเวียงจันทน์ทางตอนกลาง และทางจําปาสักในเขตลาวใต้ จนตกเป็นประเทศราชขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ และได้กวาดต้อนผู้คนทั้งไพร่พลและเจ้านายมาไว้ยังบ้านเมืองต่างๆ หลายคร้ังหลายคราว จนคร้ังสุดท้ายเม่ือครั้งรบกับเจ้าอนุวงศ์ พ.ศ. ๒๓๖๙ ท่ียกทัพไปตีกรุงเวียงจันทน์และเผาเมืองจนแทบไม่เหลือหลักฐานบ้านช่องและร้างผู้คน แล้วกวาดต้อนผู้คนทั้งหมดมายังฝั่งสยามให้ตั้งบ้านเรือนอยู่หลากหลายท้องถิ่นที่ ปรากฏว่ามีมากก็ที่เขตเขมรป่าดงเมืองศรีษะเกษ เมืองขุขันธ์ และขุนหาญ ปรากฏชุมชนลาวเวียงตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ร่วมกับผู้คนเชื้อสายเขมร จากศรีษะเกษเดินทางผ่านช่องตะโกลงมายังเขตเมืองกบินทร์บุรี อรัญประเทศ และประจันตคามมีชุมชนลาวเวียงปรากฏอยู่จนทําให้บริเวณท้องถิ่นนี้เป็นเขตที่มีการอยู่อาศัยของชาวลาวและพูดภาษาลาวอย่างชัดเจน โดยทางอรัญประเทศยังปรากฏกลุ่มชาวญ้อซึ่งเป็นกลุ่มที่พูดภาษาลาวสําเนียงทางหลวงพระบาง  ซึ่งชาวญ้อเป็นคนกลุ่มใหญ่ในจังหวัดสกลนครที่เคลื่อนย้ายเข้ามาสู่สยามในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ส่วนกลุ่มคนพวนที่มาจากแถบเมืองเชียงขวางก็เป็นคนกลุ่มใหญ่ทางศรีมหาโพธิและปราจีนบุรีไปจนถึงลุ่มน้ําท่าลาด จากสนามชัยเขต เกาะขนุน และพนมสารคาม บริเวณและ ฉะเชิงเทรา รวมทั้งพนัสนิคมในจังหวัดชลบุรี

เส้นทางการกวาดต้อนผู้คนจากทางฝั่งเชียงขวางและเมืองพวน รวมท้ังทางฝั่งเมืองเวียงจันทน์ก็ผ่านช่องทางด้าน “ช่องตะโก” ผ่านด่านพระจารึก ด่านพระปรง และด่านหนุมานและเดินทางสู่ท้องถิ่น ต่างๆ ในภูมิภาคตะวันออกก็ใช้เส้นทางนี้เป็นเส้นทางสําคัญทางหนึ่ง

33

เส้นทางเดินทัพและเมืองด่านต่างๆ สู่เขมร เช่น ด่านกบแจะ (ประจันตคาม) ด่านหนุมาน (กบินทร์บุรี) ด่านพระปรง (รอยต่อกบินทร์บุรี และสระแก้ว) ด่านพระจารึก (สระแก้ว) รวมทั้งช่องเขาผ่านเทือกเขาพนมดงเร็กสู่ที่ราบสูงอีสานใต้ คือ ช่องตะโก และ ช่องสระแจง

กลุ่มลาวเวียงที่มีจํานวนไม่น้อยตั้งถิ่นฐานที่หัวเมืองแถบสระบุรีและนครนายก เช่น แถบแก่งคอย หนองแค หนองแซง เสาไห้ วิหารแดง บ้านหมอ ปะปนไปกับลาวแง้วที่มาจากทางแถบหลวง พระบางและคนยวนจากเชียงแสนที่เข้ามาก่อนหน้านั้นในช่วงเวลา ต่างกันเล็กน้อย และเลยไปถึงลพบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี นครสวรรค์ ที่มีทั้งลาวเวียง ลาวแง้วและคนพวนที่เป็นกลุ่มไทดําจากเมืองพวน แถบเชียงขวาง และข้ามไปทางภาคตะวันตกท่ีอุทัยธานี สุพรรณบุรี ราชบุรีและเพชรบุรี

ดังนั้นผู้คนท่ีเป็นประชากรโดยพื้นฐานของบริเวณ “บ้านด่าน” ชายแดนสยามประเทศในบริเวณ “ด่านพระจารึก” “ด่านพระปรง” และ “ด่านหนุมาน” คือชาวลาวจากฝั่งขวาของแม่น้ําโขงที่ถูกกวาดต้อนมาต้ังแต่ครั้งต้นกรุงรัตนโกสินทร์ รวมเวลาแล้วอยู่ในช่วงกว่า ๒๐๐ ปีมาแล้ว และมีลูกหลานสืบเชื้อสายสืบทอดมาหลายชั่วอายุคนจนสามารถตั้งข้ึนเป็น “เมือง” เช่น เมืองกบินทร์บุรีท่ีต้ังข้ึนจากบ้านด่านหนุมานกลายเป็นเมืองหน้าด่านทางภาคตะวันออกของสยามในช่วงปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว   

ที่เมืองกบินทร์บุรี ชุมชนชาวลาวเวียงที่เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดอยู่ในบริเวณท่ีเรียกว่าตําบลเมืองเก่า บริเวณแควหนุมานท่ีบ้านด่านที่เรียกว่า “ด่านหนุมาน” ซึ่งเป็นชุมชนมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นบ้านด่านสําหรับเฝ้าระวังในเส้นทางเดินทัพไปยังเขมร

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

เจ้าพ่อพระปรงที่ศาลเจ้าพ่อพระปรง ใกล้แควพระปรง ริมถนนสุวรรณศรบริเวณรอยต่อระหว่าง อำเภอกบินทร์บุรีและจังหวัดสระแก้ว

พบว่าน่าจะเป็นจุดที่ตั้งของศาลเจ้าพ่อหนุมานบริเวณริมแควหนุมานฝั่งตะวันตกห่างจากบ้านใต้ของบ้านเมืองเก่าราว ๑ กิโลเมตร และชาวบ้านร้ือถอนเพื่อบูรณะและให้มาอยู่ใกล้กับชุมชนเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ ปัจจุบันต้ังอยู่ติดกับ “หนองหนุมาน” บริเวณบ้านใต้ ๑ กิโลเมตร  

สภาพแวดล้อมบริเวณนี้เป็นที่ราบลุ่มใกล้ลําน้ําซึ่งมีทั้งแควหนุมานและห้วยโสมง โดยบริเวณบ้านเรือนจะต้ังอยู่บนโคกเนินท่ีเป็นแนวยาว บ้านเมืองเก่าประกอบไปด้วยบ้านเหนือ บ้านกลาง บ้านใต้ ต่อด้วยบ้านเลียบ บ้านหนองรู บ้านโนนแดง บ้านงิ้ว และบ้านม่วง มีหนองน้ําขนาดใหญ่คือ หนองรูและหนองปลาแขยงท่ีบางส่วนปรับมาเป็นอุทยานกบินทร์เฉลิมราช ชาวบ้านจึงมีการปลูกผักกระเฉดซึ่งมีวิธีการทําให้ยอดผักกระเฉดอ่อนและกรอบอร่อย เรียกว่า “ผักกระเฉดชะลูดน้ํา” ก็มีแหล่งที่มาจาก บริเวณน้ี

บริเวณบ้านเมืองเก่าซึ่งเป็นบ้านด่านแต่เดิมคงมีผู้คนอยู่อาศัยไม่มาก แต่เมื่อมีการกวาดต้อนอพยพคนลาวจากทางฝั่งขวาของแม่น้ําโขงจึงมีการให้ชาวลาวเวียงจํานวนหนึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านด่านหนุมาน ช่วงเวลานี้ไม่น่าจะเกินราว พ.ศ. ๒๓๖๙-๒๓๗๐ จากเมื่อครั้งศึกเจ้าอนุวงศ์ ชุมชนที่นี่จึงขยายใหญ่ขึ้นแต่ก็ยังไม่มีการลงหลักฐานที่มั่นคงเพราะมีสงครามต่อเนื่องกับทางเขมรและ อันนัมหรือญวนอีกกว่า ๑๐ ปี ชาวบ้านที่นี่ยังคงเล่าสืบต่อกันมา ว่า ชาวบ้านที่เป็นลาวเวียงที่บ้านเมืองเก่าต้องถูกเกณฑ์ไปรบในทัพของเจ้าพระยาบดินทรเดชาที่เมืองเขมร ได้รับความยากลําบากอย่างยิ่ง ต้องทําถนนเพื่อเดินทัพทางบกจากด่านหนุมานไปยังเมืองเขมรและเป็นกําลังสําคัญในการสู้รบด้วย

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

ลาวเวียงบ้านปากน้ำ ตำบลบ่อทอง อำเภอกบินทร์บุรี เป็นคนลาวเวียงและยังคงรักษาพิธีกรรมบุญข้าวสากในช่วงเดือน ๙ และ เดือน ๑๐ ในช่วงสารทลาวที่ชาวบ้านร่วมกันทำบุญข้าวห่อ อุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษผู้ล่วงลับและถือศีลฟังเทศน์ฟังธรรมสำหรับผู้เฒ่าผู้แก่

มีวัดสําคัญที่เกี่ยวเนื่องกับการตั้งทัพและเดินทัพของเจ้าพระยาบดินทรเดชาคือ “วัดหนองรู” บ้านหนองรูซึ่งเปลี่ยนเป็นชื่อ “วัดแก้วฟ้ารังษี” ในปี พ.ศ. ๒๔๓๐ บริเวณนี้อดีตเคยใช้บริเวณวัดเป็นกองบัญชาการตั้งทัพเพื่อไปรบกับเขมรและเป็นสถานที่สําหรับทําพิธีถือน้ําพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการในหัวเมืองแถบนี้ ปัจจุบันยังคงเหลือรูปแบบทางศิลปกรรม เช่น พระอุโบสถและพระพุทธรูปที่เป็นแบบลาวอยู่บ้างเล็กน้อย อีกแห่งหนึ่งคือที่บ้านดงเย็น วัดที่บ้านนี้มีประวัติว่าเจ้าพระยาบดินทรเดชาเมื่อกลับจากสงครามแล้วจึงได้สร้างวัดหลวงบดินทรเดชา และนําพระพุทธรูปปางมารวิชัยจากเขมรมาประดิษฐานไว้ในอุโบสถ

รูปปั้นเจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) นายทัพคนสำคัญในศึกเขมรและญวนในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ทั้งสองแห่งยังพบร่องรอยความทรงจําของผู้คนในปัจจุบัน ที่มีต่อเส้นทางเดินทัพไปรบกับญวนและเขมร ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและการเกณฑ์แรงงานชาวลาวไปทําถนนและสู้รบแม้เวลาจะผ่านล่วงเลยมาเกือบสองร้อยปีก็ตาม

ต่อมามีการอพยพเคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งชุมชนริมแม่น้ําที่ “บ้านปากน้ํา”ซึ่งเป็นท่ีสบกันของแควพระปรงและแควหนุมาน เป็นจุดเร่ิมต้นของแม่น้ําบางปะกง และกลายเป็นศูนย์รวมการคมนาคมในราว พ.ศ. ๒๔๔๙ ซึ่งตรงกับรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นช่วงเวลาที่สยามต้องยก ดินแดนมณฑลบูรพาได้แก่ เสียมราฐ พระตะบอง และศรีโสภณให้ฝรั่งเศสเพื่อแลกกับจังหวัดตราดและเกาะท้ังหลายรวมทั้งเกาะกูดคืน

ในเขตลุ่มน้ําบางปะกงในยุคสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมามีการปลูกอ้อยเพื่อหีบใช้ทําน้ําตาลและเป็นสินค้าส่งออกท่ีสําคัญและยังมีการปลูกข้าวหมาก ผลไม้จากสวนต่างๆ ของป่าจากเทือกเขาภายใน จึงเป็นเขตพื้นที่ทางเศรษฐกิจการเกษตรและของป่าที่สําคัญของสยามประเทศ และเป็นช่วงเวลาที่สยามทําสนธิสัญญาเปิดการค้าเสรีกับทางอังกฤษมีการหลั่งไหลเข้ามาของแรงงานชาวจีนจํานวนมากตั้งแต่ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแล้ว แรงงานชาวจีนนี้ส่วนใหญ่แต่แรกเริ่มเข้ามาขายแรงงานเพื่อการสาธารณูปโภคเพิ่มเติมกับแรงงานไพร่ส่วยที่มีไม่เพียงพอและกระจายไปสู่ภูมิภาคต่างๆ

กลุ่มคนจีนมักรวมกลุ่มกันตามที่มาจากท้องถิ่นต่างๆ ในเมือง จีน เป็นจีนกวางตุ้ง แคะ ไหหลํา แต้จิ๋ว เพื่อช่วยเหลือระหว่างกันใน กลุ่มผู้มาก่อนและกลุ่มผู้มาใหม่และมักมีการตั้งหัวหน้าที่ได้รับ ความนับถือกันในกลุ่มเรียกว่า “ตั้วเหี่ย” ในภาษาแต้จิ๋ว หรือ “ต้ัวก่อ” ในภาษาฮกเกี้ยน ท่ีแปลว่า “พี่ใหญ่”

นอกจากทํางานขุดคลองบางขนากเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๐ แล้ว แรงงานชาวจีนที่มีการรวมกลุ่มถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่กันจึงมีความ ชํานาญในการทําอุตสาหกรรมน้ําตาล รวมทั้งเป็นช่างต่อเรือ ช่างไม้ และสามารถในการเดินเรืออีกด้วย เมืองฉะเชิงเทราในสมัยรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ที่มีการบุกเบิกพื้นที่เป็นเส้นทางเดิน ทัพและมีแหล่งทรัพยากรสําคัญจึงมีผู้คนอพยพเข้ามาอยู่อาศัย จํานวนมากรวมทั้งชาวจีนด้วย จึงมีการปลูกอ้อยและทําโรงน้ําตาล มากข้ึน

ขณะเดียวกันภาครัฐได้ให้ความสนใจก่อสร้างโรงงานน้ําตาลของหลวงขึ้นในบริเวณใกล้เคียงกัน แต่ขาดทุนเนื่องจากการทุจริตของข้าราชการและการขาดประสบการณ์ทางธุรกิจ แตกต่างจากชาวจีนที่มีความเชี่ยวชาญการผลิตน้ําตาลทุกขั้นตอน เป็นทั้งแรงงาน และผู้ประกอบการ เพราะมีความชํานาญเป็นหัวหน้าคนงานเสมียน และผู้จัดการอย่างเบ็ดเสร็จ สามารถผลิตเคร่ืองมือที่ใช้ในการ ผลิตน้ําตาล เช่น เครื่องหีบอ้อย พลั่ว จอบ เสียม กระทะ และสามารถในการเดินเรืออีกด้วย เมืองฉะเชิงเทราในสมัยรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ที่มีการบุกเบิกพื้นที่เป็นเส้นทางเดินทัพและมีแหล่งทรัพยากรสําคัญจึงมีผู้คนอพยพเข้ามาอยู่อาศัยจํานวนมากรวมทั้งชาวจีนด้วย จึงมีการปลูกอ้อยและทําโรงน้ําตาลมากข้ึน

กรณีจีนตั้วเหี่ยครั้งแรกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๗ ที่เมืองจันทบุรีเกิดจากการวิวาทระหว่างจีนฮกเกี้ยนและจีนแต้จิ๋วและเกิดขึ้นตามมาอีกหลายแห่ง เช่นที่เมืองนครชัยศรี และเมืองสาครบุรี และอีกหลายจุด โดยทําฝ่าฝืนกฎหมายและยังมีปัญหาเรื่องการค้าฝ่ิน

การจลาจลของจีนต้ัวเหี่นที่เมืองฉะเชิงเทราเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๑ เกิดขึ้นจากแรงงานคนจีนต่อต้านการข่มเหงของขุนนางท้องถิ่นโดย เฉพาะจากเจ้าเมือง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง ลงโทษแต่บรรดาแกนนําอย่างรุนแรง ส่วนผู้ร่วมเหตุการณ์ระดับล่างจํานวนมากได้รับการปล่อยตัว แต่ก็มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์น้ี มากกว่าครั้งใดๆ ถึง ๓,๐๐๐ คน หลังจากน้ันจึงทรงปรับปรุงการแต่งตั้งเจ้าเมืองโดยให้ขุนนางเชื้อสายจีนจากกรมท่าซ้ายเป็นเจ้าเมือง คนใหม่เพื่อปกครองเมืองฉะเชิงเทราที่มีคนจีนอยู่มาก (นนทพร อยู่มั่งมี, “เผาบ้าน เผาเมือง จลาจลโรงน้ําตาล กรณีจีนต้ัวเหี่ยเมือง ฉะเชิงเทรา สมัยรัชกาลที่ ๓” ศิลปวัฒนธรรม หน้า ๘๘-๑๐๒)

ความเป็นเมืองท่าใกล้ปากน้ําชายทะเลของเมืองฉะเชิงเทรา จึงเป็นเมืองศูนย์กลางทางการค้าและส่งออกสินค้าการเกษตรพวก น้ําตาล ข้าว หมากและผลไม้และของป่า จึงกลายเป็นศูนย์กลางท่ี คนจีนโพ้นทะเลจะอพยพเข้ามาทํางานอยู่อย่างต่อเนื่องในช่วงเวลานับศตวรรษ และเมื่อสะสมทุนพอได้หรือมีเครือข่ายญาติพี่น้องหรือ คนในกลุ่มเดียวกันอยู่ที่ใดก็จะโยกย้ายเข้าไปตั้งถิ่นฐานตามท้องถิ่น ภายในริมลําน้ําบางปะกงที่เรียกเป็นช่วงๆ ว่าแม่น้ํานครนายกและ แม่น้ําปราจีนบุรี ดังพบได้ตามตลาดท่าน้ําริมน้ําสําคัญๆ ที่มีผู้คน เชื้อสายจีนซึ่งมักแต่งงานกับคนท้องถิ่นแล้วทําการค้าเป็นหลักจนทําให้เกิดตลาดหรือเมืองริมแม่น้ํา เช่น ที่บางคล้า พนมสารคาม ปราจีนบุรี ท่าทรายหรือท่าประชุมที่ดงศรีมหาโพธิ จนมาสิ้นสุดเส้นทางเดินทางน้ําที่เป็นชุมชนตลาดขนาดใหญ่ที่ไกลที่สุดจาก ปากน้ําบางปะกงก็คือที่ “ตลาดกบินทร์บุรี” บนจุดบรรจบของแควหนุมานและแควพระปรง ต้นแม่น้ําบางปะกงนั่นเอง

ชาวบ้านที่ตลาดเก่า ชี้ให้ดูร่องรอยของน้ำท่วมหนักในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ และอธิบายถึงเรือนไม้ชั้นเดียวของตนที่ซื้อต่อมาจาก เจ้าของโรงเรือนสูบฝิ่นที่เป็นสิ่งถูกกฎหมายในอดีต โดยมีชั้น หลังคาที่ระบายอากาศและควันออกได้ด้านบน

ส่วนทางบางคล้ามีการอพยพของคนจีนรุ่นเก่าเข้ามาทําสวนยกร่องในเขตที่มีอิทธิพลของน้ําทะเลหนุนเข้ามาได้และมีสภาพเป็นและต้องเสียค่าอากรสวนให้แก่รัฐได้มาก สามารถเดินทางแยกออกไปทางนครนายกสู่พนมสารคาม ซ่ึงเป็นชุมทางค้าควายและมีกองเกวียนค้าขายแหล่งใหญ่ที่พ่อค้าและนายฮ้อยชาวอีสานเดินทางมาจากช่องตะโกและมาพักเกวียนแถบนี้ และสามารถติดต่อกับปราจีนบุรีที่เดินทางขึ้นไปถึงดงศรีมหาโพธิที่มีชุมทางใหญ่อยู่ท่ี “ท่าหาดหรือท่าเขมร” ซ่ึงภายหลังเปลี่ยนช่ือเป็น “ท่าประชุม” อันเป็นชุมทางซึ่งมีทั้งโรงสีข้าวและโรงเลื่อยอยู่ไม่น้อย ต่อเนื่องขึ้นไปถึงเมืองกบินทร์บุรีซึ่งเป็นชุมชนภายในที่ติดต่อกับเขตชายเทือกเขาที่มีการบุกเบิกทําไม้ซุงและทํานาไม่ใช่น้อย ทําให้มีคนจีนไปสร้างหลักแหล่งในฉะเชิงเทรามากขึ้นจนสามารถสร้างโรงสีข้าว โรงงานน้ําตาล โรงเลื่อย อันส่งผลให้เมืองฉะเชิงเทรากลายเป็นศูนย์กลางความเจริญแทนเมืองปราจีนบุรีที่เจริญขึ้นมาตั้งแต่เป็นจุดพักสําคัญใน  เส้นทางเดินทัพสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

เมืองกบินทร์บุรีเคยยกฐานะข้ึนเป็น “จังหวัดกบินทร์บุรี” เมื่อ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๙ โดยมีอําเภอกบินทร์บุรี อําเภอ อรัญประเทศ อําเภอสระแก้ว และอําเภอวัฒนา จนถึง พ.ศ. ๒๔๖๙ ในสมัยรัชกาลที่ ๗ จึงยุบเป็นอําเภอกบินทร์บุรีขึ้นกับจังหวัดปราจีนบุรี 

ตลาดล่างกบินทร์บุรี หรือตลาดเก่าที่อยู่ริมแม่น้ำ

ต่อมามีการสร้างทางรถไฟต่อจากเมืองฉะเชิงเทราไป เชื่อมกับทางรถไฟกับกัมพูชาที่คลองลึกอําเภออรัญประเทศเปิดการเดินรถไฟจากฉะเชิงเทราถึงกบินทร์บุรีระยะทาง ๑๐๐ กิโลเมตร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๗ และเปิดการเดินรถไฟจากกบินทร์บุรี ถึงตําบลคลองลึก อําเภออรัญประเทศระยะทาง ๙๔ กิโลเมตร เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๖๙ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อให้เชื่อมกับเส้นทางรถไฟของกัมพูชาหรืออินโดจีนฝรั่งเศสในขณะน้ันส้ินสุดท่ีเมืองพนมเปญ ซึ่งสร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕

มณฑลเทศาภิบาลปราจีนบุรีถูกยกเลิกไปเมืองปราจีนบุรีมีฐานะเป็นจังหวัดปราจีนบุรีเมื่อหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. ๒๔๗๕ แต่เนื่องจากจังหวัดปราจีนบุรีมีพื้นที่กว้างขวางจึงแยกออกเป็นจังหวัดนครนายก ใน พ.ศ. ๒๔๘๙ และจังหวัด สระแก้วใน พ.ศ. ๒๕๓๖

สําหรับเหตุการณ์สําคัญในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ หรือ สงครามมหาเอเชียบูรพาที่ทําให้เกิดความทรงจําในสภาพของ สงครามและความเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดปราจีนบุรีและกบินทร์บุรี ก็คือ ญี่ปุ่นได้ยกกองทัพสู่ประเทศไทยทางตะวันออกด้านอําเภออรัญประเทศผ่านวัฒนานคร สระแก้ว กบินทร์บุรี เพื่อเดินทางเข้าสู่กรุงเทพฯ โดยที่กบินทร์บุรีทหารญี่ปุ่นใช้พื้นที่วัดต่างๆ เช่น วัดพระยาทํา ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับตลาดเก่าเป็นที่พักแรมของทหารญี่ปุ่น ชาวบ้านที่ตลาดเก่าซึ่งเกิดทันยังจดจําเรื่องราวเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี รวมทั้งเรื่องสะพานดําหรือสะพานข้ามทางรถไฟที่ตลาดกบินทร์ฯ ไม่ถูกระเบิดจากเครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรเพราะมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ท่ีคนจีนในตลาดยังจดจําได้มาจนถึงปัจจุบัน

หลังจากการบุกครองอินโดจีนของญี่ปุ่นเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.๒๔๘๓ ฝรั่งเศสถูกบีบยินยอมอนุญาตให้ญี่ปุ่นตั้งฐานทัพในอินโด-จีนและภายหลังเมื่อสิ้นสุดกรณีพิพาทโดยมีญี่ปุ่นเป็นตัวกลางในการเจรจาระหว่างไทยกับฝรั่งเศส มีการลงนามในอนุสัญญาสันติภาพที่กรุงโตเกียว เมื่อวันท่ี ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ จึงทําให้ไทยได้ดินแดนพิพาทมาอยู่ในปกครอง และจัดตั้งเป็นจังหวัดใหม่ขึ้น ๔ จังหวัด คือ นครจัมปาศักดิ์ ลานช้าง พิบูลสงคราม และพระตะบอง ซ่ึงจังหวัดดังกล่าวน้ีไทยได้ปกครองในช่วงเวลาสั้นๆ จนส้ินสุดสงครามโลกคร้ังท่ี ๒ ใน ปี พ.ศ. ๒๔๘๘