วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ฉบับที่ ๘๒ มกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓

ภาคกลางของเวียดนามเป็นบริเวณที่มีรัฐแรกเริ่มพัฒนาขึ้นจากชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ตั้งอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล โดยรวมเรารู้จักกันในนาม วัฒนธรรมแบบซาหวิ่งห์ [ Sa Huỳnh culture] ซึ่งวัตถุทางวัฒนธรรมให้อิทธิพลต่อรูปแบบซึ่งคล้ายคลึงแพร่หลายอยู่หลายแห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งภายในภาคพื้นและหมู่เกาะ ทำให้เห็นว่าผู้คนในวัฒนธรรมซาหวิ่งห์นั้นเป็นกลุ่มชำนาญในการเดินเรือที่ข้ามทะเลไปยังหมู่เกาะฟิลิปปินส์หรือเดินเรือเลียบชายฝั่งเข้ามาในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทยและยังใช้เส้นทางเดินทางบกข้ามเทือกเขาเข้ามาสู่อีสานเหนือในวัฒนธรรมแบบบ้านเชียงและในบริเวณทุ่งกุลา ที่มีร่องรอยของสิ่งของเครื่องประดับและรูปแบบวัฒนธรรมการฝังศพครั้งที่สองในยุคเหล็กลงมา

1

หลังจากนั้น บริเวณเทือกเขาและที่สูงในบริเวณภาคกลางของเวียดนามก็เป็นบริเวณที่มีชุมชนบ้านเมืองที่เราเรียกว่า “จามปา” ในเวลาต่อมา “คนจาม” นั้นจัดอยู่ในกลุ่มตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ความเป็น “คนจาม” รวมเอากลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เช่น กลุ่ม จาม [Cham], ระแด [Rhade], จาไร [Jarai], จุรู [Chru], ราไก [R’glai], เกอฮอ [K’ho], สเดง [Sdiang],  หะรอย [Hroy], บานา [Bahnar], เซดัง [Sedang] เป็นต้น ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งเป็นชาวเขาในเขตที่สูงและปัจจุบันก็ยังดำรงอยู่

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

ปราสาทโปนาคา [PoNagar Tower] “ญาจาง” เป็นเมืองท่าชายฝั่งทะเลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นปราสาทจามที่มีผู้คนเข้าเที่ยวชมมากกว่าแห่งอื่น เพราะญาจางเป็นเมืองท่าเพื่อการท่องเที่ยวในปัจจุบันด้วย

บ้านเมืองของจามปาในระยะแรกตั้งอยู่ในเขตหุบเขาภายใน ไกลชายฝั่งทะเลก่อนที่จะกลายมาเป็นกลุ่มพ่อค้าที่ใช้การเดินเรือทะเลออกไปไกลในภูมิภาคต่างๆ ทั้งสองฝั่งอารยธรรมคือจีนและอินเดียตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๗-๘ เป็นต้นมา พัฒนาการของบ้านเมืองชาวจามเข้าสู่การเป็นนครรัฐโดยการรับศาสนาฮินดูซึ่งมีอยู่หลายเมืองตั้งแต่ ดานัง (อินทรปุระ) จาเกี้ยว (สิงหปุระ) อมรปุระ กุยเญิน (วิชัย) ญาจาง (เกาธระ) ฟานรัง (ปันฑุรังคะ) ฟานเทียต

ภาพสลักศักติของพระศิวะในภาคของมหิศวรมธินีหรือนางทุรคาอยู่เหนือ ประตูปราสาทกลาง มีผู้คนไปกราบไหว้และทำพิธีกรรมแทบทุกวัน เกี่ยว พันกับการนับถือและบูชาเทพสตรีเป็นผู้ทรงอำนาจสูงสุดทางความเชื่อ

เมืองทั้งหลายเหล่านี้ล้วนมีศาสนสถานสำคัญอยู่บนภูเขา โดยเฉพาะที่หุบเขาหมี่เซิน [Mỹ Sơn ] ใกล้กับดานัง ซึ่งเป็นกลุ่มศาสนสถานบนภูเขาขนาดใหญ่ ส่วนปราสาทจามทางชายฝั่งซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญที่ญาจางคือปราสาทโปนาคา [PoNagar Tower] ซึ่งถือเป็นปราสาทสำคัญของคนจามอุทิศให้แก่ Yan Po Nagar เทพสตรีผู้เป็นแม่แห่งแผ่นดิน ปราสาทโปนาคานี้มีรูปเคารพสำคัญในศาสนาฮินดูที่เป็นศักติของพระศิวะในภาคของมหิศวรมธินีหรือนางทุรคาอยู่เหนือประตูปราสาทกลาง

นอกจากนี้ ยังมีปราสาทต่างๆ ที่อยู่บนเนินเขาเตี้ยๆ ใกล้กับชุมชนที่อยู่เลียบชายฝั่งทะเลอีกหลายแห่งตลอดเรื่อยจนมาถึงแถบนครโฮจิมินห์ โดยที่การสร้างปราสาทบนภูเขาและการนับถือเทพสตรีถือเป็นแนวคิดที่สืบเนื่องจากวัฒนธรรมดั้งเดิมในกลุ่มชาติพันธุ์ท้องถิ่นแถบนี้อย่างชัดเจน

นอกจากปราสาทจามซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์เด่นของบ้านเมืองในอดีต “คนจาม” ยังเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ใหญ่ในเวียดนามตอนกลางโดยเฉพาะในบริเวณ จังหวัดบิงห์ถ่วนและนิงห์ถ่วน [Bình Thuận , Ninh Thuận] ที่มีคนจามอยู่ราว ๘๖,๐๐๐ คน จากจำนวนคนจามราวๆ ๑๓๐,๐๐๐ คนทั่วประเทศเวียดนาม

ถือว่าคือลมหายใจที่สืบเนื่องตกทอดมาจากวัฒนธรรมจามปาอย่างน่าสนใจและอาจจะมากกว่าตัวปราสาทที่เป็นเพียงศาสนสถานด้วยซ้ำ

คนจามที่ฟานรังในจังหวัดนิงห์ถ่วน [Ninh Thuận] แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ จามบาลามง [Cham Balamon] และจามบานี [Cham Bani] ซึ่งมีจำนวน ๒๒ หมู่บ้าน แต่ละกลุ่มแยกกลุ่มบ้านกันอย่างเด็ดขาดไม่ยุ่งเกี่ยวกันและไม่นิยมแต่งงานข้ามกลุ่ม ทำให้ผู้คนในแต่ละกลุ่มไม่มีโอกาสเรียนรู้หรือใช้ชีวิตที่สัมพันธ์กันแต่อย่างใด

คนจามที่ฟานรังในจังหวัดนิงห์ถ่วน แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม คือจามบา ลามง [Cham Balamon] และจามบานี [Cham Bani] ในภาพคือคุณ ยายชาวบาลามง ผู้มีฝีมือทางการปั้นภาชนะสืบทอดมาจากตระกูล

คนจามกลุ่มใหญ่คือ คนจามบาลามง ที่นับถือพราหมณ์ ๑๕ หมู่บ้านและมีพิธีกรรมทางศาสนาโดยใช้พื้นที่ปราสาทโป-กลงกาไร [PoKlongGarai] และปราสาทโปโลเม่ [Porome] ในท้องถิ่น นับถือกษัตริย์ที่ล่วงลับไปแล้วเป็นเทพ เช่น กษัตริย์โป-กลงกาไรและกษัตริย์โปโรเมซึ่งเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของจามปาก็กลายเป็นเทพในปราสาทที่ชาวจามปัจจุบันเข้าไปทำพิธีกรรมบูชา

คนจามมุสลิมที่ฟานรังนั้นทั้งน่าสนใจและน่าแปลกใจสำหรับผู้ที่รู้จักชุมชนมุสลิมจากท้องถิ่นอื่นๆ เพราะความเป็นอิสลาม [Islamization] นั้นเข้ามามีส่วนในชีวิตของคนจามบานีน้อยมาก

อิสลามเริ่มเข้ามาในจามปาเมื่อใดไม่แน่ชัด มีการสันนิษฐานว่านำมาโดยพ่อค้าอาหรับที่เข้ามาแวะพักเมื่อเดินทางผ่านเมืองท่าแถบนี้และกำหนดอายุจากแผ่นหินที่จารึกเหนือหลุมฝังศพเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ในตำนานกล่าวว่า แม้ในระยะเริ่มแรกการมีศาสนาใหม่เข้ามาสู่กลุ่มคนจามที่เป็นพราหมณ์จะทำให้เกิดความขัดแย้ง แต่กษัตริย์จามก็ทำให้ศาสนาอิสลามผสมผสานเข้าสู่ความเป็นท้องถิ่นที่นับถือกษัตริย์เป็นเทพและกำหนดสถานภาพของกลุ่มคนในฐานะต่างๆ โดยยกให้นักบวชหรือกูรูเป็นกลุ่มที่มีสถานภาพสูงเช่นเดียวกับกลุ่มจามที่เป็นพราหมณ์ รวมทั้งมีส่วนร่วมในพิธีฉลองปราสาทโปโรเมตามตำนานร่วมกัน มีการบูชาบรรพบุรุษเช่นเดียวกับชาวจามท้องถิ่นกลุ่มอื่นๆ ซึ่งแตกต่างไปจากคนมุสลิมที่เคร่งครัด

แต่พวกเขาก็ถือว่าตนเองเป็นมุสลิมนับถือศาสนาอิสลามและถือตนว่าเป็น “อิสลามดั้งเดิม” ที่ต่างจากกลุ่ม “อิสลามใหม่” ซึ่งนำเอาการประพฤติปฏิบัติแบบศาสนาอิสลามนิกายซุนนี่จากแถบสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงที่ได้อิทธิพลมาจากคนมาเลย์มุสลิมทางคาบสมุทรมลายูมาอีกทอดหนึ่ง เนื่องจากมีโต๊ะครูผู้สอนศาสนาจากเมืองเจาด๊ก [Châu Đốc ซึ่งอยู่ติดชายแดนกัมพูชาเข้ามาสอนศาสนาและเสียชีวิตที่ฟานรังเมื่อราว ๕๐ ปีที่แล้ว ปัจจุบันนี้มีมัสยิดของกลุ่มศาสนาอิสลามในกลุ่มนี้ราวๆ ๔ แห่งในจังหวัดนิงห์ถ่วนและมีผู้นับถือปฏิบัติอยู่ตามหมู่บ้านต่างๆ ราว ๑๐-๑๕ เปอร์เซนต์ของคนจามบานี

กลุ่มคนจามบานีที่รับการปฏิบัติทางศาสนาเหมือนกับคนจามมุสลิมที่ทาง ภาคใต้ที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง เพราะถือว่านี่คือแนวทางที่ควรปรับ เปลี่ยนเพื่อให้ถูกต้อง

คนจามไม่ว่าจะเป็นกลุ่มใดต่างฝังศพไว้ในสถานที่เดียวกัน บริเวณเนินทรายขนาดใหญ่ที่มีพื้นทรายละเอียดและสะอาดไม่ไกลจากชายฝั่งทะเล ซึ่งเป็นพื้นที่ฝังศพกันมาแต่ดั้งเดิมโดยแบ่งพื้นที่แยกเป็นกลุ่มจามบาลามงซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุด กลุ่มจามบานีซึ่งมีขนาดรองลงมาและกลุ่มกลุ่มจามบานีที่เป็นกลุ่มใหม่เคร่งครัดตามหลักเกณฑ์ทางศาสนาซึ่งยังมีไม่มากนักและกลุ่มจามที่นับถือผีและอำนาจเหนือธรรมชาติ รูปแบบการฝังศพนั้นจะมีหินรูปทรงกลมๆ สองก้อนวางที่หัวและเท้าเช่นเดียวกันทุกกลุ่ม ส่วนหินของคนจามบานีที่เป็นกลุ่มใหม่จะเริ่มมีการเขียนจารึกวันเกิดและตายรวมทั้งชื่อเป็นภาษาอาหรับ ภาษายาวีและภาษาเวียดนามอยู่แต่ก็อยู่บนก้อนหินรูปกลมบ้างเหมือนของมุสลิมทั่วไปบ้างและวางหัวท้ายแบบเดิม

คนจามในภาคกลางของเวียดนามไม่ว่าจะเป็นจามบาลามงหรือจามบานีจะถือลำดับตามสายตระกูลที่นับถือเครือญาติทางฝ่ายแม่อย่างเคร่งครัด คนจามในเขตภาคกลางนี้ยังคงถือเครือญาติสายแม่ [Matrilineal] และให้สมบัติและพื้นที่ทางฝ่ายหญิงทั้งหมด [Matrilocal] ลูกสาวคนเล็กซึ่งเป็นผู้ดูแลพ่อแม่จะได้บ้านและที่ดินเป็นมรดกแทบทั้งหมด ส่วนฝ่ายชายนั้นแม้แต่ฝังศพก็ยังกลับไปฝังที่พื้นที่ทางฝ่ายแม่ของตนและไม่มีสิทธิในบ้านเรือนและสมบัติที่หาไว้ในการแต่งงานแต่อย่างใด

คนจามดั้งเดิมที่นับถือพราหมณ์แบบท้องถิ่นก็ไม่ได้มีปัญหาทางศาสนากับกลุ่มจามบานีซึ่งเป็นมุสลิมแต่อย่างใดและทั้งสองกลุ่มนี้ไม่มีส่วนใดในชีวิตประจำวันที่ต้องสัมพันธ์กันและต่างคนต่างอยู่ในชุมชนของตนเอง

ในกลุ่มนักบวชหรือที่พวกเขาเรียกว่า “กูรู” นั้นมีสถานภาพพิเศษ ในหมู่บ้านแต่ละแห่งมีจำนวน ๑๐-๑๒ คน มักจะสวมชุดยาวสีขาวและมีถุงใบเล็กๆ สามใบเป็นสัญลักษณ์ โกนผมและโพกผ้าคลุมไว้ ไม่กินเหล้าและหมูและอาหารจะมีการจัดเตรียมพิเศษเสมอ สามารถอ่านภาษาอาหรับจากคัมภีร์อัลกุรอ่านได้แม้จะไม่เข้าใจก็ตาม มีการจัดลำดับอาวุโสลดหลั่นกันถึง ๖ ระดับ ผู้ที่อยู่ในลำดับสูงสุดเรียกว่า “องค์กูรู” [Ong Guru] ซึ่งชาวบ้านจะให้ความเคารพสูงสุดและเชื่อฟังองค์กูรูซึ่งมักจะเป็นผู้อาวุโสที่มีประสบการณ์ชีวิตและมีครอบครัวที่ดีเป็นตัวอย่างแก่ชาวบ้าน ถือว่าเป็นผู้มีบารมีสูงสุดของชุมชน

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

กลุ่มจามบานีที่แยกออกเป็นจามบานีที่เป็นกลุ่มใหม่เคร่งครัดตามหลักเกณฑ์ทางศาสนาซึ่งยังมีไม่มากนัก และกลุ่มจามที่นับถือผีและอ􀃋ำนาจ เหนือธรรมชาติ กลุ่มนักบวชหรือที่พวกเขาเรียกว่า “กูรู” นั้นมีสถานภาพพิเศษ ในหมู่บ้านแต่ละแห่งมีจำนวน ๑๐-๑๒ คน มักจะสวมชุดยาว สีขาวและมีถุงใบเล็กๆ สามใบเป็นสัญลักษณ์ โกนผมและโพกผ้าคลุมไว้ ผู้ที่อยู่ในลำดับสูงสุดเรียกว่า “องค์กูรู” [Ong Guru] ซึ่งชาวบ้าน จะให้ความเคารพสูงสุดและเชื่อฟังองค์กูรูซึ่งมักจะเป็นผู้อาวุโสที่มีประสบการณ์ชีวิตและมีครอบครัวที่ดีเป็นตัวอย่างแก่ชาวบ้าน ถือว่าเป็น ผู้มีบารมีสูงสุดของชุมชน

คนจามบานีต้องให้กูรูทำพิธีต่างๆ ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งเสียชีวิตและมีพิธีต่างๆ มากมาย ต้องจ่ายค่าตอบแทนแก่กูรูเสมอและถ้าหมู่บ้านใดไม่มีองค์กูรูก็จะทำพิธีกรรมพิเศษบางอย่างไม่ได้ ดังนั้นเมื่อเป็นคนจามบานีก็ต้องใช้เงินสำหรับพิธีกรรม สำหรับจ่ายให้กูรูไม่ใช่น้อยขึ้นอยู่กับความสำคัญของพิธีกรรมต่างๆ มีผู้ให้ข้อมูลเป็นตัวอย่างว่า สำหรับงานแต่งงานอาจจะต้องให้ค่าตอบแทนเป็นทองแก่องค์กูรูราวๆ สองสลึงทีเดียว

คนจามบานีเรียกเดือนรามาฎอนว่า “รามาวัน” [Ramuwan] ซึ่งอยู่ในช่วงเดียวกันกับมุสลิมทั่วโลก แต่จะแปลกไปกว่าคนมุสลิมอื่นๆ เพราะกูรูหรืออาจารย์จะเป็นกลุ่มที่ไปค้างคืนในมัสยิด เสมือนเป็นตัวแทนชาวบ้านซึ่งไม่จำเป็นต้องถือศีลอดกันทุกคนตามแบบธรรมเนียมของชาวมุสลิมทั่วไป พวกเขาแยกจากครอบครัวไปทำอยู่ที่มัสยิดอย่างเคร่งครัดตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนพระอาทิตย์ตกในช่วง ๕ วันแรกและทำละหมาด ๕ ครั้งต่อวันตลอดทั้งเดือน เมื่อละศีลอดก็จะมีผู้หญิงในครอบครัวนำเอาสำรับกับข้าวมาส่งให้ โดยอาหารในสำหรับนั้นจะจัดอย่างดีที่สุด

ทุกวันนี้กลุ่มมุสลิมใหม่ในหมู่บ้านของคนจามบานีที่ถือศาสนาแบบเคร่งครัดก็แยกออกไปมีมัสยิดของตนเอง ทำละหมาดวันละ ๕ ครั้งและถือศีลอดในเดือนรอมฎอนทุกคน และมีความใฝ่ฝันที่จะไปฮัจน์ที่เมกกะและมักอยู่ในเครือญาติเดียวกันในขณะที่บ้านของคนจามบานีดั้งเดิมที่ปลูกบ้านอยู่ในรั้วติดกันนั้นไม่เคร่งครัดเท่า เพราะแต่ละบ้านมักเลี้ยงสุนัขและไปมัสยิดกันเพียงปีละครั้งเท่านั้นกลุ่มประเทศมุสลิมที่เข้ามาให้เงินบริจาคช่วยสร้างมัสยิดร่วมกับชาวบ้านมาจากอัฟริกาใต้และมีการให้ทุนนักศึกษาไปเรียนทางศาสนาในตะวันออกกลางด้วย นอกจากนี้ก็ยังกลุ่มอิสลามแบบเคร่งครัดแบบดั้งเดิม [Orthrodox] หรือที่มุสลิมในเมืองไทยมักเรียกกันแบบง่ายๆ ว่ากลุ่มสายใหม่ที่เคร่งครัดกว่ากลุ่มที่เข้ามาใหม่เริ่มเข้ามาในชุมชนแล้ว ส่วนใหญ่ก็เป็นกลุ่มที่สืบเนื่องมาจากกลุ่มสายใหม่ทางเจ๊าดกที่เรียกกันในชุมชนว่ามัสยิดเล็กที่แตกต่างจากกลุ่มท้องถิ่นแบบสายเก่าที่เรียกว่ามัสยิดใหญ่

บ้านที่พักอาศัยขององค์กูรูหมู่บ้านวัน ลัม มีเครือญาติอยู่ในบริเวณเดียวกัน และนับถือสายแม่ [Matriarchy] อย่างเคร่งครัด

ในบ้านของชาวจามบานีแบบดั้งเดิมจะเลี้ยงสุนัขไว้ในบ้านด้วย โดยไม่เคร่งครัดเรื่องหลัก การทางศาสนาอิสลามแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงในชุมชนของมุสลิมบานีแบบเดิม ที่ศาสนาอิสลามแบบเคร่งครัดเริ่มเข้ามาสู่กลุ่มคนจ􀃋ำนวนหนึ่ง แม้ไม่มากเท่ากับกลุ่มดั้งเดิม แต่ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการประพฤติปฏิบัติที่เคร่งครัดขึ้น อีกทั้งกลุ่มประเทศมุสลิมที่เข้ามาให้เงิน บริจาคช่วยสร้างมัสยิดร่วมกับชาวบ้านมาจากแอฟริกาใต้และมีการให้ทุนนักศึกษาไปเรียนทางศาสนาในตะวันออกกลางด้วย

กลุ่มคนจามบานีที่รับการปฏิบัติทางศาสนาเหมือนกับคนจามมุสลิมที่ทางภาคใต้ที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง เพราะถือว่านี่คือแนวทางที่ควรปรับเปลี่ยนเพื่อให้ถูกต้อง และเมื่อสังเกตพบจากการพูดคุยใกล้ชิดก็พบว่าพวกเขาค่อนข้างขบขันต่อเพื่อนบ้านที่ยังประพฤติปฏิบัติแบบเดิม เพราะถือว่าคนในกลุ่มนี้คือผู้ไม่เข้าใจศาสนาอิสลามอย่างแท้จริง

คนจามมุสลิมในแถบเมืองเจาด๊ก [Châu Đốc] ซึ่งอยู่ติดชายแดนกัมพูชาซึ่งถือว่าตนเองมีความใกล้ชิดกับกลุ่มชาวมาเลย์มุสลิมในแถบคาบสมุทรมากกว่าคนจามจากทางภาคกลางที่ถือตนเองว่าสืบทอดมาจากบรรพบุรุษผู้เคยครอบครองอาณาจักรจามปาในอดีตและมีความเป็นเอกภาพในความเป็น “คนจาม” ร่วมกันมากกว่าการเป็นคนมุสลิมเหมือนกับที่คนจามทางภาคใต้นึกคิด

OLYMPUS DIGITAL CAMERA
OLYMPUS DIGITAL CAMERA

บริเวณเนินทรายที่ฝังศพของคนจามแห่งเมืองฟานรัง

สุสานที่ฝังศพของชาวมุสลิมจาม คือการวางหินก้อนใหญ่สองก้อนที่หัวและท้าย เรียงลำดับตามอาวุโสและถือปฏิบัตินับถือสาย ตระกูลทางฝ่ายหญิงอย่างเคร่งครัด หากฝ่ายชายที่เสียชีวิตไปแล้วก็ต้องนำศพไปฝังทางฝ่ายมารดาของตน ทั้งมุสลิมบานีดั้งเดิม และสายใหม่แม้แยกฝังในพื้นที่ต่างกัน แต่ก็อยู่ในบริเวณเนินทรายใกล้ชายฝั่งทะเลซึ่งเป็นสถานที่ฝังศพแต่แรกเริ่มร่วมกัน

ผู้คนอาจจะคิดไปเองว่าคนจามบานีที่เป็นมุสลิมแบบดั้งเดิมของเวียดนามนี้อาจจะไม่รู้จักโลกอิสลามหรือไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับโลกภายนอก เพราะเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ห่างไกลและปิดตนเอง แต่กลับเป็นว่าคนจามบานีเหล่านี้เป็นจำนวนมากที่มีการศึกษาในขั้นสูง มีอาชีพเป็นหมอ วิศวกร พยาบาลหรือนักวิชาการโดยเฉพาะทางมานุษยวิทยาก็ไม่ใช่น้อย เพียงแต่เขาเลือกจะเป็นมุสลิมแบบที่เคยเป็นมา เลือกที่จะไม่ไปฮัจน์แม้จะมีเงินทองมากพอและเลือกที่จะปฏิบัติแบบที่ปู่ย่าตายายเคยทำมา เช่น ไปละหมาดที่สัมิดในวันศุกร์เพียงเดือนละครั้ง โดยเฉพาะกลุ่มกูรูทั้งหลายก็ไม่เคยสนใจที่จะเปลี่ยนแปลง สถานภาพในทุกวันนี้ของพวกเขาก็ทำให้มีบารมีมากพอที่จะปฏิเสธศาสนาอิสลามใหม่ อาจเพราะเป็นการกระทบกระเทือนต่อตนเองและสังคมของคนจามบานีตามที่พวกเขาคิด แม้จะมีคลื่นแห่งโลกอิสลามโถมเข้ามาสู่พวกเขาไม่หยุดยั้งก็ตาม

13

ถาดที่ครอบอาหารซึ่งนำมาให้แก่นักบวชหรือกูรูที่มัสยิดช่วงเดือนรามาวันหรือรอมฎอน (ภาพจากโปสการ์ด)

ทั้งรัฐของเวียดนามเองก็ไม่ได้เข้าไปแทรกแซงในกระแสความเคลื่อนไหวหรือการรักษาอัตลักษณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่ถูกแบ่งออกเป็นทางการรวม ๕๔ กลุ่มชาติพันธุ์ (แม้อาจจะมีข้อถกเถียงในการแบ่งกลุ่มแบบเคร่งครัดเช่นนี้จากนักวิชาการภายในประเทศและจากภายนอกก็ตาม) นอกจากการให้โอกาสคนกลุ่มต่างๆ สามารถสอนหนังสือภาษาจามทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนอย่างเป็นทางการในโรงเรียนแล้ว ก็จะมาเพียงเยี่ยมเยียนเคารพผู้นำศาสนาในเทศกาลสำคัญของท้องถิ่นและจัดการให้เคารพกฎหมายของรัฐเท่านั้น

ดังนั้น ลักษณะโครงสร้างทางสังคมแบบดั้งเดิมเดิมนั้นจึงเปลี่ยนแปลงช้าและไม่ได้ถูกกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโดยอำนาจรัฐมากนัก